8/27/2010

Phuket's still a magnet for investors



  • Published: 26/08/2010 at 12:00 AM
  • Newspaper section: Horizons

Foreign investors find Phuket a lucrative spot in which to do business due to its international appeal as a beach destination, its eye-catching natural beauty and year-round tropical climate, says Allan Zeman, owner of the five-star Andara Resort & Villas which opened on the island earlier this year.

Zeman, a property developer with over four decades of experience, noted that, Phuket, unlike Bangkok, hasn't experienced any major political instability which would discourage tourists.

"Apart from the aforementioned reasons, I decided to invest in a resort and mall business in Phuket because I've been a regular visitor for the past 30 years. Phuket is like a second home to me and I find the local people friendly and charming. The island has much to offer in terms of culture, history and food. It'll remain a hotbed for sustainable tourism growth for years to come."

Can you tell us a little about yourself?

I was raised in Canada but have lived in Hong Kong now for over 40 years, so I'm Chinese, to be honest! Lan Kwai Fong, an entertainment hub which serves up a mix of contemporary, international and local cuisine, is my signature property development there. I'm also the chairman of Ocean Park, an established theme park in Hong Kong.

There's been a big increase in the number of high-end resorts opening on Phuket. Do you think the island has exceeded its capacity to sustain luxury developments?

Not really, because I believe that the rising number of accommodation options is a testament to investor confidence. And what's good for the economy, is also good for Phuket! That said, I feel like there are developers who are looking to build smarter, quality- - as opposed to quantity-based - resorts, which cater to the high-end tourism segment where success is valued not in the number of resorts you have, but rather in their calibre.

Tell us something about your new venture.

Andara is a collection of 37 luxury residences and 26 pool villas, all set on a dreamy hillside overlooking the pristine Andaman Sea. Although only open since February, Andara has already proven itself as a top luxury resort in Asia, winning four awards at the Thailand Property Awards and being included on the Conde' Nast Traveler hot list for 2010.

Andara sets itself apart from other luxury resorts by offering a host of unique extras, which include two private motor yachts, a deluxe spa and renowned restaurant plus perfect service.

What are your future plans for Andara?

We're still discovering the seasonal norms as we nourish what is a young brand, build our reputation as a luxury resort and continue to exceed expectations. Markets like short-haul travellers, especially for corporate leisure, are promising for us since we offer a unique luxury lifestyle, yachting on our two private boats, golfing, romantic getaways and quality family time.

How much of an impact did the red-shirt protests have on tourist arrivals?

The protests didn't have much of an impact on our tourist numbers. We had a few cancellations from European clients in May, due largely to the clouds of volcanic ash which caused a number of flights to be cancelled. On the flip side, that also meant that many of our resident guests at that time extended their stay at Andara for a little longer.

If you had the opportunity to speak to our PM about the current situation and its effect on tourism, what would you suggest that he do?

Actually, I have spoken to the prime minister already. I talked to him about the need to focus on tourist development, as it is the country's largest industry, and a source of income for many. The recovery of the industry after the red-shirt protests hinges largely on gaining back tourist confidence. And to do that, all the key players in the government and private sectors that are connected to tourism need to have a round-table discussion to bring about a proper solution.

Moreover, I think that Phuket needs some new attractions to draw visitors. Places that go hand in glove with the natural beauty of the island and its cultural surroundings might include a tourist attraction similar to the theme park that I developed in Hong Kong, but with a Thai touch. Convention centres are also important to showcase Phuket as a potential destination for the Mice [meetings, incentives, conventions and exhibitions] market.

If you were in charge of the Tourism and Sports Ministry what issues would you tackle?

Number one would be to increase the focus on human-resource training and then to upgrade the infrastructure of the country to make it easier for people to travel. I would also continue to promote Phuket as a value-for-money destination.

Moving on to a less serious subject: how do you like to chill out after a hard day at work?

I'm always exploring, so whenever I'm in Phuket I take our yacht, Celebrity, out to Naka Island in Phangnga Bay to have lunch. Being in that most natural of settings is an experience that never fails to help me unwind.

What category of tourist destination most appeals to you?

I love non-touristy spots which are easy to get to for a weekend, but once you're there you feel like the only person in the world to have discovered it. I look for destinations with sun, sea and lush vegetation, like an island which also happens to be rich in culture.

Having said that, I also love being in the middle of a busy city, rubbing shoulders with the locals. Both sort of places hold an attraction for me. In fact, I feel as much at home in the hustle and bustle of a city as I would on an island in the middle of nowhere. I like exciting cities like Hong Kong that inspire me to do business. I love combining business and pleasure because doing business brings me a lot of happiness.


Writer: Yvonne Bohwongprasert
Position: Reporter

bangkokpost.com






8/22/2010

"คนขายเสรีภาพ"



วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เวลา 21:00:00 น. มติชนออนไลน์

โดย เกษียร เตชะพีระ

ขณะนายกฯอภิสิทธิ์เดือดเนื้อร้อนใจที่ "มีคนอยู่ดีๆ มาว่าว่าผมขายชาติ" (รายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์", เว็บไซต์ คมชัดลึก, 8 สิงหาคม 2553) ผมกลับคิดว่าเรื่องน่าเป็นห่วงสำหรับอนาคตการเมืองไทยและหลายประเทศในโลกอยู่ที่อาการ "ขายเสรีภาพ" มากกว่า


นี่เป็นประเด็นหลักของหนังสือซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักวิเคราะห์การเมืองอังกฤษ-อเมริกันอย่างกว้างขวางเรื่อง Freedom for Sale : How We Made Money and Lost Our Liberty (เสรีภาพสำหรับขาย : เราทำมาหาเงินและสูญเสียเสรีภาพไปได้อย่างไร-ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อกันยายน ค.ศ. 2009, และฉบับอัพเดตออกในอเมริกา มีนาคม ศกนี้) เขียนโดย จอห์น แคพเนอร์และกำลังแปลเป็นภาษาอิตาเลียน, รัสเซีย, อาหรับ ฯลฯ


แคพเนอร์เป็นชาวอังกฤษที่เกิดในสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ.1962 ประกอบอาชีพเป็นนักเขียนนักวิจารณ์และผู้ประกาศข่าว


เขาเคยเป็นผู้สื่อข่าวประจำกรุงเบอร์ลิน (ช่วงกำแพงเบอร์ลินแตกและเยอรมนีรวมประเทศ) และมอสโก (ช่วงรัฐประหารโดยแกนนำคอมมิวนิสต์หัวเก่าล้มเหลวและระบอบโซเวียตล่มสลาย) ให้หนังสือพิมพ์ Daily Telegraph และสำนักข่าว Reuters อยู่เกือบ 10 ปี (ค.ศ.1984-กลางคริสต์ทศวรรษ 1990) ก่อนจะกลับอังกฤษมาเป็นหัวหน้าผู้สื่อข่าวการเมืองให้หนังสือพิมพ์ Financial Times และนักวิจารณ์การเมืองให้สำนักข่าว BBC


เขาประสบความสำเร็จสูงสุดในวิชาชีพหนังสือพิมพ์เมื่อเข้าเป็นบรรณาธิการการเมือง (จาก ค.ศ.2002) และเลื่อนเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร New Statesman (ค.ศ.2005-2008) โดยปรับปรุงนิตยสารจนยอดขายขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี เขาได้รางวัลต่างๆ อาทิ :


- รางวัล Journalist of the Year และ Film of the Year ในปี ค.ศ.2002 จาก Foreign Press Association สำหรับภาพยนตร์สารคดีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่เขาทำให้ BBC เรื่อง The Ugly War


- รางวัล Book of the Year ในปี ค.ศ.2003 จากหนังสือพิมพ์ Times, Sunday Times และ Observer สำหรับหนังสือของเขาเรื่อง Blair"s Wars


- รางวัล Current Affairs Editor ประจำปี ค.ศ.2006 จาก British Society of Magazine Editors


- ล่าสุดหนังสือ Freedom for Sale ของเขาก็ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายเพื่อชิงรางวัล Orwell Prize อันทรงเกียรติเมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้


ปัจจุบัน จอห์น แคพเนอร์ เป็นหัวหน้าผู้บริหารของ Index on Censorship อันเป็นองค์การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกทั่วโลกของอังกฤษ ที่พัฒนาขึ้นมาจากนิตยสารชื่อเดียวกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1972

คำถามหลักของแคพเนอร์ใน Freedom for Sale คือ : -


"ทำไมผู้คนมากหลายทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรม, สภาพการณ์, ภูมิศาสตร์, หรือประวัติศาสตร์ใด, ดูเหมือนเต็มใจจะสละเสรีภาพบางอย่างเพื่อแลกกับความมั่นคงหรือเจริญรุ่งเรือง?"


คำถามนี้กระแทกใจเขาเมื่อปลายปี ค.ศ.2007 จากนั้นแคพเนอร์ก็ออกเดินทางสำรวจแสวงหาคำตอบไปหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สิงคโปร์ จีน รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย อิตาลี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ


เกณฑ์ในการเลือกของเขาคือ เป็นประเทศภายใต้ระบอบอำนาจนิยม (authoritarianism - 4 ประเทศแรก) ไปจนถึงเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy - 4 ประเทศหลัง) ที่ล้วนยอมรับเงื่อนไขของโลกาภิวัตน์


โดยหลีกเลี่ยงประเทศภายใต้ระบอบทรราชที่ปกครองด้วยปากกระบอกปืนอย่างไม่อินังขังขอบฉันทานุมัติของประชาชนอย่างพม่า เกาหลีเหนือ ซิมบับเว ฯลฯ และประเทศที่มีเงื่อนไขเฉพาะพิเศษ เช่น อิสราเอลที่ยึดครองและขัดแย้งอยู่กับปาเลสไตน์, แอฟริกาใต้ภายหลังระบอบแบ่งแยกสีผิวซึ่งยังคงมรดกความเหลื่อมล้ำแตกแยกระหว่างชนต่างสีผิวอยู่, เวเนซุเอลาภายใต้ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ที่อาศัยทรัพยากรน้ำมันอันอุดมดำเนินนโยบายประชานิยมเอียงซ้ายและต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ทำให้กลุ่มทุนต่างๆ และคนชั้นกลางแปลกแยกเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล เป็นต้น


แคพเนอร์ใช้สิงคโปร์ในฐานะถิ่นกำเนิดซึ่งเขาผูกพันทางจิตใจเป็นพิเศษ เป็นเสมือนต้นแบบของการขายเสรีภาพด้วยแนวคิด "ข้อตกลงที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร" หรือ "การได้อย่างเสียอย่าง" (the unwritten pact or tradeoff) ซึ่งทำให้เพื่อนฝูงชาวสิงคโปร์ของเขา - ทั้งที่เคยเดินทางท่องเที่ยวมาแล้วทั่วโลกและจบอุดมศึกษาชั้นสูง - กลับปกป้องระบบที่ยกย่องความสำคัญของการเหนี่ยวรั้งจำกัดเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อแลกกับสิ่งที่เรียกว่า "ประโยชน์ส่วนรวม"


แรกเริ่มเดิมทีเขาคิดว่านี่เป็นกลุ่มอาการทางการเมืองเฉพาะตัวของโลกตะวันออกที่มองต่างมุมและกำลังลุกขึ้นมาท้าทายโลกตะวันตกอย่างฮึกเหิมในทำนอง "นโยบายมุ่งมองบูรพา" (Look East Policy) ของอดีตนายกฯมหาธีร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย หรือ "ค่านิยมเอเชีย" (Asian values) ของอดีตนายกฯลี กวน ยู แห่งสิงคโปร์


แต่เมื่อเพ่งสำรวจพินิจอย่างลึกซึ้ง แคพเนอร์ก็พบว่า อ้าว, เราทำกันอย่างนั้นทั้งนั้นนี่หว่า ไม่ว่าตะวันออกหรือตะวันตก, อำนาจนิยม กึ่งอำนาจนิยมหรือเสรีประชาธิปไตย, ขงจื๊อหรือคริสต์, สิงคโปเรียนหรือแยงกี้..เราต่างก็ใกล้เคียงกันกว่าที่คิดและยอมเสียสละเสรีภาพของเราเพื่อแลกให้ได้เงินมาด้วยกันทั้งนั้น

ในความหมายนี้ ข้อตกลงขายเสรีภาพจึงเป็นสากล ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบางวัฒนธรรมหรือระบอบการเมือง


แน่นอนรูปธรรมการคลี่คลายขยายตัวของข้อตกลงขายเสรีภาพย่อมผันแปรไปบ้างตามสภาพการณ์, วัฒนธรรมและอัตราเร่งที่แตกต่างกัน พูดง่ายๆ เราต่างก็เลือกเสรีภาพที่เราพร้อมจะเสียสละชนิดต่างๆ กันไปในแต่ละประเทศของตน


บางประเทศก็ยอมสละเสรีภาพในการแสดงออก (เช่น สิงคโปร์)


บ้างก็สละสิทธิ์ในการโหวตไล่รัฐบาลออกจากตำแหน่ง (เช่น จีน)


บ้างก็สละศาลตุลาการที่เที่ยงธรรมไม่ลำเอียง (เช่น กัมพูชาและมาเลเซีย)


บ้างก็สละความสามารถที่จะดำเนินชีวิตปกติโดยไม่ถูกสปายสายลับดักฟังสอดแนมล้วงอ่านหรือกล้องวงจรปิดตามส่องดู (เช่น อเมริกาและอังกฤษ)


บ้างก็ยอมเสียสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเพื่อแสดงความเห็นทางการเมือง (เช่น พื้นที่ภายใต้ประกาศภาวะฉุกเฉินยืดเยื้อทั่วโลก) ฯลฯ


เพราะเอาเข้าจริงข้อเหนี่ยวรั้งจำกัดสิทธิเสรีภาพเหล่านี้มันกระทบแค่คนจำนวนน้อย ซึ่งก็ล้วนแต่เป็น "พวกตัวป่วน ชอบหาเรื่อง ก่อความวุ่นวายมือไม่พายเอาตีนราน้ำแถมโคลงเรืออีกต่างหาก" หรือ "พวกไม่รักชาติ ไม่สมานฉันท์ ไม่รู้ใช่คนไทยหรือเปล่า?" อาทิ นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่วิจารณ์รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ หรือยิงคำถามและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของบรรดา ฯพณฯ และประเทศชาติเสียหาย, นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนผู้ว่าความให้สื่อมวลชนเหล่านี้หรือปกป้องผู้ต้องหาที่ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานหรืออุ้มหายหรือทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, พวกเอ็นจีโอ, นักการเมืองฝ่ายค้าน, แกนนำเสื้อสี.....


ขณะที่คนส่วนใหญ่ 99% ของประเทศไม่เห็นเค้าเดือดเนื้อร้อนใจอะไรด้วย ต่างก็ดำเนินชีวิต ทำมาหาเงิน เดินห้างติดแอร์เย็นฉ่ำช็อปปิ้งตามใจชอบเป็นปกติ...แล้วพวกมึงแค่ไม่กี่คนจะโวยวายทำไรฟะ?


ข้อตกลงขายเสรีภาพโดยเนื้อหาจึงเป็นการขายเสรีภาพสาธารณะ (public freedoms) อันเกี่ยวกับพฤติกรรมในพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่น เสรีภาพในการชุมนุม, เสรีภาพในการรวมตัวก่อตั้งสมาคมและองค์การ, เสรีภาพในการพูด, เสรีภาพในการเลือกตั้งในระบบหลายพรรค ฯลฯ หรือนัยหนึ่งเสรีภาพในการเคลื่อนไหวกดดันอย่างแข็งขันให้เกิดผลต่อเรื่องส่วนรวมร่วมกัน - ซึ่งก็คือสิ่งที่ ฯพณฯ มักเรียกว่าเสรีภาพในการก่อความวุ่นวายนั่นเอง


เสรีภาพสาธารณะแบบนี้มีใครที่ไหนอยากใช้หรือ? ใครสักกี่คนกันที่ต้องการหาญกล้าลุกขึ้นท้าทายบรรดา ฯพณฯ ผู้นั่งเรียงแถวหน้าสลอนประกาศคำสั่งและแถลงข่าวอยู่บนจอทีวีเหล่านั้น?


มิสู้ขายมันทิ้งเพื่อแลกกับเสรีภาพเอกชน (private freedoms) ในอันที่จะดำรงชีวิตโดดเดี่ยวเหี่ยวๆ เห่ยๆ เหมือนอะตอมของตัวเองดีกว่า อย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกโรงเรียนให้ลูก, เสรีภาพในการเดินทางท่องเที่ยว, เสรีภาพในการแสดงออกได้ตามใจในเงื่อนไขพื้นที่เอกชนของตัว, เสรีภาพในการดำเนินวิถีชีวิตเอกชนของกูแบบที่กูปรารถนา, เสรีภาพในการแต่งกายทำผมลงรอยสักบนเนื้อตัวตามแฟชั่น, เสรีภาพในการซื้อหาบ้านช่องรถราข้าวของเครื่องใช้, และเหนืออื่นใดคือเสรีภาพในการทำมาหาเงินและจับจ่ายใช้เงิน


นี่ไม่ใช่หรือเสรีภาพที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา? มีแค่นี้ก็ "ฟรี" พอแล้วไม่ใช่หรือ?


แคพเนอร์วิเคราะห์ว่าในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา พลังการเมืองที่รองรับข้อตกลงขายเสรีภาพดังกล่าวในประเทศต่างๆ มักประกอบด้วยพันธมิตรของ [ผู้นำการเมือง+ภาคธุรกิจ+คนชั้นกลาง] ถึงไม่ระบุชัดเป็นลายลักษณ์อักษรโต้งๆ แต่ข้อตกลงนี้ก็ดำรงอยู่ในรูปชุดความเข้าใจที่ชัดเจนทว่าแนบเนียนไม่โฉ่งฉ่าง ประเด็นสำคัญของข้อตกลงดังกล่าวในทางปฏิบัติก็คือ จำนวนผู้ได้ประโยชน์จากมันจะต้องค่อยๆ เพิ่มขึ้นและรัฐต้องยืดหยุ่นพลิกแพลงพอที่จะตอบสนองความต้องการต่างๆ ของพวกเขา


ความต้องการที่ว่าก็ได้แก่รัฐต้องช่วยค้ำประกันและอุดหนุนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, กฎหมายนิติกรรม-สัญญา, การปกป้องสิ่งแวดล้อม, การเลือกไลฟ์สไตล์ต่างๆ, และสิทธิในการเดินทาง ทว่าเหนืออื่นใดในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงินนี้คือ รัฐต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในอันที่จะทำมาหาเงินและเก็บสะสมเงิน


และเพื่อช่วยให้การขายเสรีภาพดำเนินไปได้อย่างสะดวกกายสบายใจก็ต้องมีลัทธิบริโภคนิยมเป็นยาสลบหรือยาชาช่วยกล่อมประสาททางการเมืองให้มึนตึ้บสงบลงได้ชะงัดนักแล (ดู "ททท. จัดงาน SMILE@SIAM คืนรอยยิ้มให้เมืองไทย 14-15 สิงหาคม, www.media-shaker.com/pr-news/756.html)


เพียงเท่านี้ พวกเขาก็พร้อมจะเสียสละเสรีภาพสาธารณะ- รวมทั้งเสรีภาพในการเห็นอาชญากรรมที่รุนแรงที่สุดกลางเมืองและเสรีภาพในการจำโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่แห่งชาติ - ทั้งของตัวเองและของคนอื่น ที่เป็นพวกตัวป่วนไม่กี่คนมาเป็นเครื่องบัดพลีบูชายัญให้แก่รัฐอย่างยิ้มแย้มหน้าชื่นตาบาน (ชมวิดีโอตำรวจนอกเครื่องแบบ 6 นาย รุมจับและอุ้ม นที สรวารี ตัวป่วนผู้บังอาจใช้เสรีภาพสาธารณะของปัจเจกบุคคลในการจำและพูดที่ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ศกนี้ ได้ที่ www.youtube.com/watch?v=3KiJRjXIN4Q)




10/08/2009

"นิธิ" ชี้สังคมไทยแตกแยก หวั่นนองเลือด

"นิธิ" ชี้สังคมไทยแตกแยก หวั่นนองเลือดฆ่ากันเองโดยไร้เหตุผล

ที่สถาบันศศินทร์ ได้จัดประชุมทางวิชาการดุลยภาพของสถาบันกับการพัฒนาประชาธิปไตยโดยได้มีการเสวนาในหัวข้อ "เส้นทางสมดุลทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมไทย" ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ กล่าวว่า ปัญหาความไม่สมดุลภายในสังคมไทยมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงในอดีต ทั้งการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 กระทั่งปัจจุบันที่เกิดปัญหาบาดหมาง แตกแยกมานานถึง 20 ปี ไม่ได้มาแตกแยกในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแตกแยกถึงรากถึงโคน และทำให้เกิดปรากฏการณ์การแบ่งชนชั้นที่ต่างจากอดีตที่มีคนชนชั้นสูง ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง แต่ปัจจุบันการเมืองที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้คนชั้นล่างเปลี่ยนเป็นคนชั้นกลางระดับล่างที่มีค่าครองชีพสูงแต่รายได้ไม่มากนักโดยมีสัดส่วนถึง 40% ซึ่งอยู่ทั้งในชนบทและในเมือง ที่สำคัญคนเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ ดังที่เห็นได้จากการเลือกตั้ง โดยที่พรรคการเมืองสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของคนเหล่านี้ได้ ในอนาคตพวกเขาเหล่านี้จะไม่ได้เรียกร้องแค่ความเท่าเทียมทางการเมืองแต่จะเรียกร้องเรื่องอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นในสังคม ตนไม่แน่ใจว่า คนชั้นกลางจะยอมรับได้หรือไม่


ศาสตราจารย์นิธิ กล่าวว่า ทางออกของความตึงเครียดความไม่สมดุลนั้นไม่มีคำตอบที่สำเร็จรูป แต่สิ่งที่น่ากลัวและร้ายแรงคือ การนองเลือดที่ไม่จำเป็นและไม่มีเหตุผล และเราจะมีทางหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะคนไทยจะฆ่ากันเองโดยไม่มีเหตุผลว่า ฆ่าทำไม สิ่งที่ต้องทำในขณะนี้คือ การลดปัจจัยการนองเลือดที่อาจจะมีขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้น คือ การเพิ่มระบบการตรวจสอบการเมืองให้มากขึ้นโดยให้ประชนรู้สึกได้ว่ามีช่องทางในการตรวจสอบมากกว่าที่เป็นอยู่ เพิ่มพื้นที่การแสดงออกของประชาชน การออกกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าหมดหนทางในการต่อสู้ซึ่งจะส่งผลให้ใช้วิธีนอกกฎหมายและความรุนแรงมากขึ้น ส่วนในระยะยาวจะต้องมีการสถาปนานิติรัฐให้มากขึ้น เน้นเรื่องรัฐสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันให้กับประชาชนคนชั้นกลางระดับล่าง ให้การศึกษามากขึ้น

ที่มา : มติชนออนไลน์, 8 ตุลาคม 2552


9/11/2009

Immigration Bureau to move to new location



By Mayuree Sukyingcharoenwong
The Nation

Fri,September 11,2009

The Immigration Bureau will move from its Soi Suan Phlu office to new offices in the new Government Office Centre on Chaeng Wattana Road this month, a senior immigration officer said Friday. (Map inside)

The new office is situated on the second floor of Building B of New Government Centre, which is in the same complex as the Consular Department of the Ministry of Foreign Affairs.

It will be fully open for service on September 28, Pol Lt Col Uraiwan Harnpradit said, adding the Bureau will continue to provide services at the Suan Phlu Office until September 25.

The move was due to the limited area for services and parking, which is insufficient to meet the needs of an everincreasing number of visitors. The new office will be more convenient, she said.

(nationmultimedia.com)



emergency decree


No plan for use of emergency decree

Writer: BangkokPost.com

Published: 11/09/2009 at 02:53 PM

There will be no need for an executive decree for administration in an emergency situation if there is a violent political incident while Prime Minister Abhisit Vejjajiva attending the United Nations General Assembly, acting government spokesman Panithan Wattanayakorn said on Friday.

He said the Internal Security Act (ISA) alone was effective enough to maintain law and order.

Mr Abhisit will attend the UN meeting, in New York, from Sept 20-27.

"That [the emergency law] is not necessary. The ISA is already enough. However, we have to keep the situation under watch," Mr Pathithan said.

The spokesman said the prime minister will next week pay a visit to the Internal Security Operations Command headquarters to brief them on policy and listen to an assessment of the planned Sept 19 rally by the red-shirts before leaving for New York.

Mr Panithan said the government will keep the public informed of the prime minister's activities during his trip abroad. via TV channel 11.

(bangkokpost.com)



8/31/2009

economy key to House dissolution



PM says economy key to House dissolution

Published: 1/09/2009 at 12:00 AM

The House could be dissolved after the government's measures to tackle the country's economic crisis start to bear fruit from December to February, Prime Minister Abhisit Vejjajiva says.

A source quoted the prime minister as telling high-level participants yesterday at an advanced course on political development at the Election Commission that three conditions would have to be met before the House could be dissolved.

The first was that the economy must be back on track. That was expected to take place from December to February when the government's stimulus package began to yield fruit.

The second was that all parties must be in agreement on the election rules.

The third condition was that an election would end political conflict and a House dissolution and fresh polls could raise the country from crisis.

Mr Abhisit said a decision to dissolve the House would also depend on members from all political parties being allowed to campaign freely without hindrance from opposing sides.

He attributed the political conflict to two major factors: the misconception that a majority vote was always correct and that the law was being used as a political tool.

To break the political stalemate, all sides must take a step back. But in doing so, they must not affect the rule of law and the country's main institutions must continue to exist and not be offended.

Yesterday's course was titled "Thai Politics in a Situation of Conflict". Reporters were excluded.


Source : bangkokpost.com