1/20/2008
Thai Political History
“จาก 14 ถึง 6 ตุลา : สองชาตินิยมชนกัน”
โดย เกษียร เตชะพีระ
เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.50 นักศึกษากลุ่ม ‘นักเรียนประวัติศาสตร์เพื่อ (ประชา) ชาติ และเครือข่าย’ ร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเวทีเสวนา “จาก14 ถึง 6 ตุลา : สองชาตินิยมชนกัน” ณ ห้องประชุม หม่อมหลวง ตุ้ย ชุมสาย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บรรยาย มีนายพิญญพันธ์ พจนะลาวัลย์ นักศึกษาปริญญาโท ประวัติศาสตร์ มช. เป็นผู้ดำเนินรายการ และต่อไปนี้คือคำบรรยายของอาจารย์เกษียร [1]
000
ผมนั่งฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” ซึ่งเปิดให้ฟังก่อนวงเสวนา เพื่อทำให้พอจะเข้าใจบรรยากาศ ปี 2519 ผมจะเล่าเรื่องความหลังเพื่อย้อนไปในอดีตเกี่ยวกับเพลงนี้
ประมาณเดือนกันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจรบวชเป็นสามเณรกลับเข้าประเทศมา และไปบวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพฯ คราวนี้บรรดานักศึกษาประชาชนทั้งหลายเห็นว่าจอมพลถนอมพัวพันเกี่ยวข้องกับกรณีเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ซึ่งมีการสังหารคนจำนวนมากก็รู้สึกว่าการกลับมาของสามเณรถนอมมีปัญหา จึงเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง ผมก็ไปร่วมด้วย อดหลับอดนอนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ จนกระทั่งตัวเหม็นเพราะไม่มีน้ำอาบ ก็คิดว่าได้เวลากลับบ้านแล้วเพื่อไปอาบน้ำ
พอตื่นเช้ามา เข้าห้องแต่งตัว ก็เจอน้องสาว ซึ่งเรียน ม.4 วิทยาลัยบพิตรพิมุข (จักรวรรดิ) แกเจอผมระหว่างแต่งตัวพอดี แกก็ร้องเพลง “คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน.....”
นึกออกไหมครับ พี่ชายแต่งตัวจะไปประท้วงสามเณรถนอม แต่น้องสาวร้องเพลง “หนักแผ่นดิน” ใส่ ผมก็โมโหกลับว่า “หมวยทำไมทำอย่างนี้” แล้วผมก็ไปประท้วงต่อ บรรยากาศความขัดแย้งมีแม้ในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง สะท้อนความแตกต่างทางอุดมการณ์ในยุคนั้น แต่ว่าตอนนี้พี่น้องเราคืนดีกันแล้วนะครับ เมื่อช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา ตรงกับวันเกิดของผมพอดีก็พาหมวยไปเลี้ยงที่ภัตตาคารอาหรับ แถวสุขุมวิท แล้วผมก็ทักขึ้นว่า เป็นไง ยังหนักแผ่นดินอยู่ไหม? (หัวเราะ)
สิ่งที่ผมจะพูดเป็นเรื่องที่ผมบรรยายในวิชาเรียนการเมืองการปกครองไทยที่ธรรมศาสตร์อยู่แล้ว ผมอยากจะเริ่มต้นแบบนี้ว่าเผอิญผมไม่เชื่อในเรื่องปัจเจกพุทธเจ้าที่คิดอะไรขึ้นมาได้เพียงคนเดียว ซึ่งการคิดของเราก็ยืนอยู่บนไหล่ของคนอื่นที่คิดมาก่อนแล้ว
ข้อเสนอเรื่องประชาชาตินิยมฝ่ายซ้าย ๑๔ ตุลาฯ นั้นผมได้อ่านและเห็นด้วยครั้งแรกจากบทความ “ชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย” ของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ตีพิมพ์ออกมาหลังเหตุการณ์พฤษภาฯ 35 หลังจากนั้น งานเรื่องราชาชาตินิยมของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ก็ช่วยรวบยอดแนวคิดของกลุ่มพลังการเมืองฝ่ายขวาแก่ผม และมีงานของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในหนังสือรวมบทความ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง ซึ่งวิเคราะห์เพลง “เราสู้” ที่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ รวมทั้งงานของอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ เรื่อง และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏฯ ซึ่งเป็นงานอธิบายกระบวนการก่อตัวทางการเมืองวัฒนธรรมก่อน 14 ตุลาฯ ซึ่งงานทั้งหมดผมขโมยมาใช้ทั้งนั้นแหละ (หัวเราะ) และก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย มีแต่คนบ้าเท่านั้นแหละที่รังเกียจที่จะยอมรับว่าตนเองเรียนรู้ต่อยอดจากคนอื่น
เมื่อประมาณปี 2537 ผมเรียนกลับจากเมืองนอกมาใหม่ๆ ผมเคยเอาหนังเรื่อง Pawns & Players หรือ Just Games ซึ่งคุณคำรณ คุณะดิลก คนรุ่น 14 ตุลาฯ แห่งกลุ่มละครพระจันทร์เสี้ยว สร้างให้รายการสารคดี South ออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ในอังกฤษ หลังเหตุการณ์พฤษภามหาโหด 2535 มาฉายให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง 800 กว่าคนดู ที่ห้องบรรยายรวม 4 ศูนย์รังสิต ประกอบการเรียนวิชา มธ. 122 สังคมกับการปกครอง
ในภาพยนตร์ที่สะท้อนการเมืองไทยยุคใหม่ได้สั้นกระชับและดีเยี่ยมเรื่องนี้ มีภาพสังหารโหดนักศึกษาประชาชนเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แทรกอยู่บางตอน อาทิ ภาพคุณวิชิตชัย อมรกุล นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาฯ ชั้นปีที่สอง เพื่อนเก่าของผมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ถูกแขวนคอกับต้นมะขาม มีรองเท้าแตะยัดปาก และโดนรุมทุบตีเตะซ้ำ ภาพกองศพ 4 ศพถูกสุมทับด้วยยางรถยนต์ราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผา โดยมีผู้คนมากหลายห้อมล้อมมุงดูอยู่กลางสนามหลวง ตรงข้ามวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น ผมจึงเตือนนักศึกษาให้รู้และเตรียมใจไว้ล่วงหน้าก่อนฉายว่า จะมีภาพรุนแรงโหดร้ายทำนองนี้อยู่ หากทำใจไม่ได้ถึงตอนนั้นก็ควรหลับตาเสีย
พอฉายวิดิโอเรื่องนี้เสร็จแล้ว เลิกเรียนคาบนั้น ต่างคนแยกย้ายกันไป ก็มีนักศึกษาหญิงสองคนเดินรี่ตามผมมา เมื่อทันกันกลางทาง ก่อนที่ผมจะขึ้นรถกลับ หนึ่งในสองก็เอ่ยถามผมด้วยหน้าตาอึดอัดไม่สบายใจว่า:
“อาจารย์คะ ทำไมประชาชนปรบมือหัวร่อดีใจที่พวกเราถูกฆ่า?”
เป็นคำถามที่เล่นเอาผมอึ้ง คิดตอบไม่ทัน เพราะมันแปลกและแหลมคมทั้งโดยเนื้อหา และตรงที่ผู้ถามซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นหลังเกือบยี่สิบปี แต่กลับนับตัวเองเกี่ยวดองเป็นพวกเดียวกับบรรดานักศึกษาเหยื่อ 6 ตุลาฯ รุ่นน้ารุ่นอาเหล่านั้นว่า “พวกเรา” ผมขอตัวไปคิดดูอยู่หลายคืน ก่อนจะกลับมาตอบให้ทั้งชั้นฟังในการเรียนครั้งถัดไปว่า:
“เพราะพวกเขาเข้าใจว่าเราไปกระทบกับของที่เขารักมาก และเขาคิดว่าเขาทำตามความประสงค์ของผู้ที่เขารักที่สุด”
ปี พ.ศ. 2518-2519 นับเป็นช่วงสงครามอุดมการณ์อย่างแท้จริงและดุเดือดรุนแรง ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย ถึงแก่สามสถาบันหลักของชาติถูกพลังการเมืองฝ่ายขวาระดมมารณรงค์ต่อต้านปรักปรำขบวนการนักศึกษาประชาชนฝ่ายซ้ายอย่างครบถ้วน กล่าวคือ สถาบันชาติ ฝ่ายขวานิยามชาติ (nation) ด้วยเชื้อชาติ (race) และหยิบประเด็นนี้มาแบ่งแยกให้ร้ายโจมตีผู้นำและนักกิจกรรมนักศึกษาไม่หยุดหย่อนว่า “ไม่ใช่คนไทย” อาทิ ต้นปี 2519 เคยมีป้ายผ้าขนาดใหญ่ของฝ่ายขวา ขึงกางอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เรียกขานคุณเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2518 ว่า “เคี้ยง แซ่เล้า”, ประณามว่าคุณสุธรรม แสงประทุม เลขาฯ ศูนย์นิสิตฯ พ.ศ. 2519 เป็น “แขก”, และบิดเบือนว่าคุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้นำขบวนการนักศึกษาประชาชน 14 ตุลาฯ เป็น “ญวน” เป็นต้น
หลังเหตุการณ์ฆ่าหมู่ 6 ตุลาฯ รัฐมนตรีมหาดไทยสมัยนั้นคือคุณ สมัคร สุนทรเวช ได้ไปพูดเรื่อง “คนที่ถูกเผาที่ธรรมศาสตร์เป็นคนญวน” ที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ซึ่งถูกบันทึกเทปไว้และคุณ ศิระ ถิรพัฒน์ นำมาลงพิมพ์ในหนังสือ โหงว นั้ง ปัง ของเขาหน้า 155-56 ความบางตอนว่า:
“การเผาคนตายกันกลางถนนนั้น ไม่ใช่ลักษณะของคนไทย
“เหตุที่วิกฤตการณ์เกิดขึ้นแปลกมาก มีการทุบตีคนให้ตายแล้วเอามาแขวนคอ ชักชวนให้เอาไม้ไปตี เอาเก้าอี้ไปตี แล้วเอาคนที่ถูกแขวนคอจนตายนั้นเอามาวาง มีการเอายางรถยนต์วางแล้วเอาศพวางแล้วเอายางรถยนต์วางทับ เอาน้ำมันราดแล้วจุดไฟเผาทั้ง 4 ศพ
“ทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องจริงเกิดขึ้นกลางถนน กลางสนามหลวง กลางถนนราชดำเนิน ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องนี้ได้ แต่ผลการสอบสวนในภายหลังนั้นก็สามารถจะปะติดปะต่อได้
“การที่มีการเผาคนตายไป 4 คนนั้นเป็นการเผาคนซึ่งต้องการทำลายหลักฐาน ไม่ให้รู้ว่าเป็นคนชาติใด เพราะเหตุว่าหลักฐานในกองที่ไหม้นั้น มีรูปโฮจิมินห์เล็ก ๆ ซึ่งเผาไปไม่หมด
“เราสอบไปในภายหลังในธรรมศาสตร์ซึ่งไม่ได้...หนักหนานั้น มีหมาซึ่งถูกฆ่าตายแล้วย่าง หมาตุ๋น หมาสตูว์ เอาอ่างมีตะแกรง หมากรอบทั้งตัวมีมีดเสียบอยู่หลายตัว
“ผมเองซึ่งในขณะนั้นไม่ได้มีตำแหน่งอะไรอยู่ แต่ได้เข้าไปดูเองและไปดูหลักฐานที่โรงพักชนะสงคราม
“เราวิเคราะห์ได้ในเวลาต่อมาว่า มีชาติอื่นคือชาติเวียดนามนั้นจำนวนไม่ทราบได้แน่นอน เข้าไปเกี่ยวข้องในกรณีธรรมศาสตร์ แล้วเข้าใจว่าเป็นคนเวียดนามเองที่ถูกฆ่าตาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการชันสูตรและกลายเป็นคนชาติอื่น ซึ่งจะกระทบกระเทือนถึงทางการนั้น คนที่เกี่ยวข้องได้จัดการเผาคนทั้ง 4 เสีย
“เขาเรียกวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่มิใช่วิสัยคนไทย ทำการเผาคนกลางถนนนั้นไม่ใช่วิสัยของคนไทย...”
เป็นอันว่าการสังหารโหดในกรณี 6 ตุลาฯ ตามเวอร์ชั่นของคุณสมัครเป็นเรื่อง “ญวนเผาญวน” คนไทยไม่เกี่ยว ไม่ได้ทำ ไม่ใช่วิสัย ไม่รับผิดชอบ และไม่มีเหตุอะไรต้องเดือดเนื้อร้อนใจ
สถาบันศาสนา คุณคำนูณ สิทธิสมาน ผู้สื่อข่าวเป็นคนสัมภาษณ์ พระกิตติวุฑโฒภิกขุ ลงนิตยสารรายสัปดาห์ จัตุรัส, ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519 หน้า 28-32 อันกลายมาเป็นคำขวัญระบือลือลั่นของฝ่ายขวาว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ดังต่อไปนี้:
จตุรัส: การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือ คอมมิวนิสต์ บาปไหม?
กิตติวุฑโฒ: อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ใช่ถือว่าเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ เราไม่ได้ฆ่าคน แต่ฆ่ามาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
และสุดท้าย สถาบันกษัตริย์
อนุสนธิจากการที่ชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร สังกัดองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดแสดงละครที่ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ล้อเลียนการฆ่าโหดสองพนักงานชั้นตรีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นครปฐม คือคุณชุมพร ทุมไมย และคุณวิชัย เกษศรีพงษา ผู้ถูกทุบตีทำร้ายอย่างทารุณจนตาย แล้วนำไปแขวนคอประจานไว้หน้าอู่รถนอกเมือง ขณะออกติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับเมืองไทยของพระถนอม กิตติขจร โดยมีสายตรวจตำรวจนครปฐมเป็นผู้ต้องสงสัย
ภาพถ่ายคุณอภินันท์ บัวหภักดี (รูปร่างผอมกว่าเพื่อน เลยได้รับเลือกเป็นตัวแสดง) นักศึกษาปีสองคณะวารสารศาสตร์ฯ หนึ่งในสองตัวแสดง ขณะทำท่าถูกแขวนคอในชุดทหาร ถูกนำไปขยายใหญ่ลงเต็มหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ดาวสยาม กรอบบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พร้อมพาดหัวข่าวตัวเป้งกล่าวหาว่า:
“แขวนคอหุ่นเหมือนเจ้าฟ้าชาย แผ่นดินเดือด! ศูนย์ฯเหยียบหัวใจไทยทั้งชาติ”
ด้วยความเข้าใจว่าขบวนการนักศึกษาถูกกล่าวหาว่า เป็นญวน (ไม่ไทย) เป็นมาร (ไม่พุทธ) และหมิ่นฯ รัชทายาท (ไม่จงรักภักดี) หรือนัยหนึ่งเป็นคนนอกที่อยู่ตรงข้ามกับ “ชาติไทย” ทั้งหมดอย่างเบ็ดเสร็จตามนิยามข้างต้น ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ชาติไทยจึงพยายามฆ่าผมกับเพื่อน ๆ แต่เผอิญเรารอดชีวิตมาได้
บทเรียนแพงที่สุดบทแรกเกี่ยวกับชาตินิยมที่เราเรียนรู้จาก 6 ตุลาฯ จึงมีว่า ชาตินั้นเป็นฆาตกรได้!
แต่ว่าชาติก็เป็นพลังสร้างสรรค์ให้รักคนอื่นได้ อย่างกรณีภัยพิบัติสึนามิปลายปี ๒๕๔๗ น้องสาวของผมคนเดียวกับที่ร้องเพลง “หนักแผ่นดิน” พอได้ข่าวก็ควักเงินส่วนตัวซื้อตั๋วเครื่องบินเดินทางลงไปใต้ ขอเป็นอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัย เอาความรู้คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ที่มีช่วยคีย์ฐานข้อมูลคนหาย คนตาย ที่เธอทำเช่นนั้นก็เพราะเห็นว่าคนที่ประสบภัยพิบัติเดือดร้อนเป็นคนไทย หรือชาติไทยด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าชาติก็มีพลังทำลายได้มาก ถ้าถูกใช้เป็นเครื่องมือปั้นแต่งให้เห็นคนอื่นเป็นศัตรู
คำถามที่ผมอยากชวนคิดในลำดับถัดไปก็คือ ถ้าลองให้ฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาสมัยนั้น ต่างฝ่ายต่างมองแก่นแกนหรือเสาหลักแห่งความเป็นชาติของฝ่ายตรงข้ามดู, พวกเขาน่าจะเข้าใจและตีความ “หัวใจ” แห่งความเป็นชาติของอีกฝ่ายว่าอย่างไร?
000
ประชาชาตินิยมฝ่ายซ้าย เริ่มจากฝ่ายซ้ายก่อนว่าขบวนการนักศึกษาประชาชนสมัย ๑๔ ตุลาฯ ๒๕๑๖ – ๖ ตุลาฯ ๒๕๑๙ มองแก่นแกนหรือเสาหลักแห่งชาติของฝ่ายขวา อันได้แก่ [ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์] อย่างไร?
ชาติ: - ฝ่ายซ้ายปฏิเสธการนิยามชาติ (nation) โดยยึดเชื้อชาติ (race) เป็นเกณฑ์แบ่ง, ไม่แบ่งแยกคนไทยเชื้อชาติต่าง ๆ ไม่ว่าไทย ลาว จีน ญวน เขมร ส่วย แขก ภูไท ม้ง กะเหรี่ยง ฯลฯ ล้วนถือเป็นพลเมือง ไทยที่มีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งสิ้น, ทว่าในขณะเดียวกัน ฝ่ายซ้ายเน้นเส้นแบ่งทางชนชั้น (class) โดยให้ความสำคัญแก่ประชาชนผู้ใช้แรงงานชั้นล่าง อันได้แก่ กรรมกร ชาวนาชาวไร่เป็นหลักไม่ว่าชนชาติใด, ฉะนั้นจึงยึดถือหลักความสมานฉันท์ข้ามชาติในหมู่คนชั้นล่าง, แต่กับคนชั้นสูงผู้มั่งมีทรัพย์สินและกดขี่ขูดรีดคนชั้นล่างชาติเดียวกันแล้ว ต้องถือว่าเป็นชนชั้นปกครอง ไม่นับเป็นประชาชน และไม่นึกร่วมอยู่ในประชาชาติ
ศาสนา: - ฝ่ายซ้ายถือว่าความคิดจิตสำนึกของมนุษย์ย่อมพัฒนาผ่านขั้นต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์จากการนับถือผีและสิ่งเร้นลับอาถรรพ์ à ตำนานเทพปกรณัม à ศาสนา à ปรัชญา à วิทยาศาสตร์เป็นระดับสูงสุด, และถือว่าลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ ก็เป็นความคิดวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง กล่าวคือ เป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสังคม ที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในปัจจุบัน, ดังนั้นจึงวิพากษ์ศาสนาว่าเป็นฝิ่นของประชาชน หมายความว่าด้านหนึ่งศาสนามีคุณช่วยบรรเทาปวดทางใจพอให้คนเราทนอยู่ในโลกที่ปรวนแปร ดูไร้เหตุไร้ผลและพลการนี้ได้ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีโทษที่มอมเมา ไม่เจาะลึกถึงเหตุผลและความจริงแบบวิทยาศาสตร์, ในอนาคต เชื่อว่าศาสนาจะพ้นยุคหมดสมัย ผู้คนจะหมดศรัทธาเลิกเชื่อไปเองเมื่อถึงสังคมอุดมคติ
พระมหากษัตริย์: - ฝ่ายซ้ายใช้คำว่า “ศักดินา” เป็นสามานยนามเรียกการปกครองในระบอบราชาธิปไตยทั่วไป โดยที่ศัพท์คำนี้มาจากชื่อเรียกสังคมขั้นที่ 3 ในทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ ว่าด้วยพัฒนาการของสังคมมนุษย์ 5 ขั้นตอน (ได้แก่ สังคมคอมมูนบุพกาล à สังคมครองทาส à สังคมศักดินา à สังคมทุนนิยม à สังคมคอมมิวนิสต์), การเลือกใช้ศัพท์คำนี้เรียกระบอบราชาธิปไตยไทย จึงเท่ากับจับการปกครองรวมทั้งบรรดาสถาบันและประเพณีแห่งระบอบนั้น ใส่เข้าไปในวิถีขั้นตอนพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ทั่วไปในกรอบทฤษฎีดังกล่าว ซึ่งย่อมจะต้องมีอันคลี่คลายไปตามตรรกะแห่งทฤษฎี, ฝ่ายซ้ายมักวิพากษ์ศักดินาในอดีต (ตามครรลองงานยอดนิยมเรื่อง “โฉมหน้าที่แท้จริงของศักดินาไทยในปัจจุบัน” ของจิตร ภูมิศักดิ์) แต่เงียบต่อปัจจุบันเพราะตระหนักถึง พื้นภูมิอันแน่นหนาของวัฒนธรรมการเมืองอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในหมู่คนไทยร่วมสมัย, อย่างไรก็ตาม เมื่อสำรวจดูวิสัยทัศน์สังคมอุดมคติในอนาคต ก็ไม่มีที่ทางชัดเจนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
ลองมองมุมกลับบ้างว่า ฝ่ายขวาสมัยนั้นเข้าใจและตีความแก่นแกนหรือเสาหลักแห่งความเป็นชาติของฝ่ายซ้าย อันได้แก่ เอกราช, ประชาธิปไตย, และความเป็นธรรมทางสังคม อย่างไร?
เพื่อสะดวกแก่การเปรียบเทียบความคิดรวบยอด ผมขอสรุปเสนอดังนี้:
ประเด็น
เอกราช
ฝ่ายซ้าย -ต้องมีทุกด้าน ไม่แต่ในนามตามกฎหมาย, ต่อต้านจักรวรรดินิยม-ทุนนิยม ก่อนอื่นคืออเมริกา ญี่ปุ่น
ฝ่ายขวา -ต่อต้านจักรวรรดินิยมคอมมิวนิสต์ ได้แก่ จีน เวียดนาม และโซเวียต
ประชาธิปไตย
ฝ่ายซ้าย -เน้นเนื้อหาอำนาจคนชั้นล่าง กรรมกร ชาวนา, ไม่เน้นรูปแบบสถาบันรัฐสภา การเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ฯลฯ
ฝ่าขวา -ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขณะนั้นอ่อนแอเกินไป เปิดช่องให้เกิดความวุ่นวายและคอมมิวนิสต์แทรก แซง ป้องกันคอมมิวนิสต์ไม่ได้ จำต้องธำรงรักษาระบอบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแม้จะยังไม่เป็นประชาธิปไตยไว้ก่อน เพื่อความมั่นคง
ความเป็นธรรมทางสังคม
ฝ่ายซ้าย -มุ่งหมายความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ด้วยการโอนปัจจัยการผลิตหลักเช่นที่ดิน, อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นของชาติ เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแผนใหม่ขึ้นและมุ่งสู่สังคมนิยมแบบจีน
ฝ่ายขวา -ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมเป็นธรรมดาธรรมชาติของมนุษย์ ขจัดอย่างไรก็ไม่หมด ไม่ควรไปฝืน, ความเป็นธรรมเกิดขึ้นได้แม้คนเราจะไม่เสมอภาค โดยผู้มั่งมีเจือจานแบ่งปันเกื้อกูลอุปถัมภ์ผู้ยากไร้ขาดแคลน
ชาติหรือชุมชนในจินตนากรรม
ฝ่ายซ้าย -เสมอภาค, เป็นประชาธิปไตย, และนิยมประชาชน
ฝ่ายขวา -แม้จะแตกต่างเหลื่อมล้ำแต่อุปถัมภ์เกื้อกูลกัน, ประชาชนอาจไม่เป็นใหญ่ในแผ่นดิน แต่ที่สำคัญคนดีต้องมีอำนาจ ยิ่งคนดีมีอำนาจเด็ดขาดก็ยิ่งดี, และเน้นชนชั้นนำ
จะเห็นได้ว่าชาติหรือชุมชนในจินตนากรรมของฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาดังกล่าว เป็นชาติที่แตกต่างกันคนละชาติ เป็นชุมชนที่จินตนาการไว้ตรงข้ามกันคนละชุมชน, ชุมชนในจินตนากรรมแห่งชาติทั้งสองนี้เองที่เข้าปะทะชนกันในพื้นที่รัฐชาติเดียวระหว่าง 14 ตุลาฯ 2516 - 6 ตุลาฯ 2519 เหนืออื่นใดเพื่อแย่งชิงรัฐ อันเป็นเดิมพันยอดปรารถนาและรางวัลสูงสุดที่ต่างฝ่ายต่างต้องการได้มาไว้เป็นเครื่องมือที่ขาดเสียมิได้ ในการธำรงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงสร้างสรรค์ชาติหรือชุมชนในจินตนากรรมของตนให้ปรากฏเป็นจริง
000
ช่วงปิดท้ายการบรรยาย อาจารย์เกษียร ได้เปิดบันทึกเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” กับเพลง “วีรชนปฏิวัติ” ที่แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์ระหว่างติดคุกลาดยาวข้อหาคอมมิวนิสต์สมัยรัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์-ถนอมให้ฟัง และตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบเนื้อหาเพลงทั้งสองว่าแม้จะมีอุดมการณ์การเมืองตรงข้ามต่างขั้วกัน แต่ต่างก็เน้นการเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อชาติเหมือนกัน และสื่อความหมายให้ผู้ฟังจินตนาการถึงความเป็นชาติที่ดำเนินผ่านอดีต à มาถึงปัจจุบัน à ไปสู่อนาคตข้างหน้าเหมือนกัน
หลังการบรรยาย ได้มีอาจารย์และนักศึกษาตั้งคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น ดังต่อไปนี้
ชัชวาล ปุญปัน: จากเรื่องสองชาตินิยมชนกัน อยากให้นำมาเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับการเมืองชาตินิยมในยุคทักษิณ
เกษียร เตชะพีระ: ตัวอย่างปัจจุบันที่พอเชื่อมโยงได้คือคดีความระหว่างทักษิณ VS. สนธิ ลิ้มทองกุลและกรณีเอกสารลับของกองทัพที่รั่วไหลออกมา
25 ธ.ค. 2550 ศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีหมายเลขดำ ที่ อ. 1065/2549 และ อ.1875/2549 ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และอดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายขุนทอง ลอเสรีวณิช บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในคามผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 328 ประกอบ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ม. 48
คดีนี้ทักษิณกล่าวหาสนธิ ลิ้มทองกุลว่าอภิปรายหมิ่นประมาทแกหลายครั้ง ศาลอาญาชั้นต้นตัดสินให้คุณทักษิณชนะ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลมีความผิด ถูกลงโทษจำคุก 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา คุณสนธิ ได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อสู้คดีต่อ แต่น่าสังเกตว่าในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น มีข้อความบางตอนที่ศาลได้แสดงความเห็นอย่างสำคัญน่าสนใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ราชาชาตินิยมในทางการเมืองปัจจุบันดังต่อไปนี้: -
ปรากฏการณ์ราชาชาตินิยมในปัจจุบัน
“.....ทางนำสืบจำเลยที่ 1 และพฤติการณ์กล่าวปราศรัย ของจำเลยที่ 1 ตามวัตถุพยานของจำเลยที่ 1 ก็ดี คือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล การแต่งกายของจำเลยที่ 1 ไม่ว่า สีของเสื้อที่ใช้สีเหลือง อันเป็นสีประจำพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ตัวอักษร ที่หน้าอกเสื้อคำว่า “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ก็ดี ล้วนพยายามสร้างภาพของโจทก์ และผู้สนับสนุนของโจทก์ ให้มีภาพยืนตรงข้ามกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และพยายามสร้างภาพของจำเลยกับพวกให้อิงแอบแนบชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันสูงสุด ที่คนไทยทุกหมู่เหล่าต้องเทิดทูน เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับพวกไม่จงรักภักดี ทำตัวเสมอพระมหากษัตริย์ หรือไม่ถวายพระเกียรติพระมหากษัตริย์ เป็นการแยกประชาชนคนไทยที่จงรักภักดีบาง ส่วนให้เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
“การที่จำเลยที่ 1 พยายามดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพเทิดทูนสูงสุดของประชาชนทุกหมู่เหล่า มาเป็นเครื่องมือกำจัดโจทก์กับพวกในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติการณ์แห่งคดี มีลักษณะร้ายแรง และเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคล หรือคณะบุคคลอื่นๆ อีกต่อไป จึงไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 … “
กรณีเอกสารลับของกองทัพ
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีเอกสารลับมากของทางราชการกองทัพบกชิ้นหนึ่งที่รั่วไหลออกมาเผยแพร่ เป็นบันทึกการถอดเทปคำบรรยายพิเศษในการประชุมมอบนโยบายและสั่งการของ ผบ.ทบ.สนธิ บุญยรัตกลิน ต่อ ผบ.หน่วยระดับกองพันขึ้นไป เมื่อ 21 ก.ย. 50 เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมกิตติขจร บก.ทบ. ผู้บรรยายพิเศษคือรองผู้บังคับการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ พ.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา (ยศตำแหน่งขณะนั้น) และ ผบ.ทบ.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวสรุปตอนท้าย เป็นการประชุมอำลาของ ผบ.ทบ.สนธิ ต่อผู้บัญชาการกองพล กองพัน คือผู้คุมกำลังพลทั้งประเทศ และมอบหมายให้ พ.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายาเป็นผู้ บรรยายพิเศษ ทุกวันนี้ พ.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เลื่อนยศเป็นพลตรีและรับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งนับเป็นตำแหน่งสำคัญในการรัฐประหารเพราะคุมกำลังมากในกรุงเทพฯ เนื้อหารายละเอียดของคำบรรยายครั้งนี้ ท่านสามารถไปหาอ่านเอาเองตามเว็บข่าวต่าง ๆ [2] ผมเพียงอยากเสนอความเห็นขั้นต้นว่า คำบรรยายนี้มีลักษณะเป็นเรื่องเล่าหรือจะเรียกว่าวาทกรรมก็ได้ เป็นเรื่องเล่าของราชาชาตินิยม โยงจากสงครามคอมมิวนิสต์ สมัย ตุลา 2519 ลงมาถึงความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันว่าเป็นเรื่องเดียวกัน
ข้างหนึ่งของคู่ขัดแย้ง คือ กองทัพกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกข้างหนึ่งของคู่ขัดแย้งเปลี่ยนจากพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต กลายมาเป็นพรรคไทยรักไทยกับอดีตสหายบางคนในพรรคไทยรักไทย เป็นการต่อสู้รอบใหม่กับพลังฝ่ายตรงข้ามที่มาปรากฏในรูปของประชาธิปไตยกระฎุมพี การต่อสู้นี้จะต้องช่วงชิงมวลชนให้ได้
ผมเองคิดไม่ถึงว่าหลายประเด็นที่ได้คาดคะเนวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้จะตรงกับความคิดความเข้าใจตัวเองของคณะทหารพอดี เช่น พ.อ. ไพบูลย์พูดตอนหนึ่งว่า เมื่อฝ่ายนั้นเสนอประชานิยมมา แกก็เชื่อว่าสักพักทางฝ่ายนี้ก็ต้องมีอะไรออกมาบ้าง พอในหลวงเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แกก็บอกว่า ใช่เลย นี้คือของ ๆ เราที่มีไว้รับมือประชานิยม ในคำบรรยายจะเอ่ยถึงกองทัพกับพระมหากษัตริย์ประกบควบคู่กันตลอด นิยามตัวเองเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และที่ก่อรัฐประหาร 19 กันยาก็เพื่อราชบัลลังก์ ผมคิดว่านี่เป็นตัวอย่างของราชาชาตินิยมที่ถูกใช้มาบอกกล่าวเล่าเรื่องความขัดแย้งในปัจจุบัน
สิ่งที่พล.อ. สนธิกับ พ.อ.ไพบูลย์ พูดนั้นบางอย่างก็เก่า เช่น ข้อเสนอว่าต่อไปนี้รัฐบาลที่ขึ้นสู่ตำแหน่งควรต้องทำตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ที่จัดวางเอาไว้แล้ว (ซึ่งตรงข้ามกับสมัยรัฐบาลทักษิณที่เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์วางแผนงานเอง แล้วสั่งการให้กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ รับไปทำ) พูดง่าย ๆ ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่ต้องทำอะไรเลย กลับไปเหมือนสมัยสฤษดิ์เปี๊ยบ หลังจากยึดอำนาจ จอมพลสฤษดิ์เสนอว่า จะต้องมีสภาพัฒน์ฯ จะต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวให้รัฐบาลทำตาม นี้คือการสถาปนาเทคโนเครซี่โดยเผด็จการ แล้วเทคโนแครตก็เกิดขึ้นสมัยสฤกษดิ์นี้แหละ ให้ผู้เชี่ยวชาญช่างเทคนิคมีอำนาจอธิปไตยจริงเหนือรัฐบาล คอยวางแผนให้รัฐบาลทำตาม เพียงแต่ว่า...
1. เราไม่มีเทคโนแครซี่แล้วเพราะมันล้มเหลวไปตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ และคุณจะให้กระทรวงทบวงกรมมาวางแผนยุทธศาสตร์เหรอ? สมัยจอมพลสฤษดิ์นั้น เทคโนแครตเป็นภูมิปัญญาชั้นแนวหน้าของสังคม ไม่ใช่ภาคเอกชน แต่ว่าปัจจุบันสภาพการณ์มันกลับกัน ยังไม่ต้องพูดถึงสมรรถนะประสิทธิภาพของหน่วยราชการกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ว่าพอจะทำหน้าที่เป็นภูมิปัญญาแนวหน้าของสังคมปัจจุบันหรือไม่
2. พล.อ. สนธิ ยังบอกว่า กอ.รมน.(กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน) เป็นแกนหลักสำคัญในการปฏิบัติภารกิจ จะต้องไปทำงานแนวร่วม ดึงข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ ประชาชนกลุ่ม ต่าง ๆ เข้ามาประชุมทำความเข้าใจให้ตรงกัน ต้องให้กำลังพลคิดเหมือนกัน แล้วเราต้องทำให้ประชาชนที่แวดล้อมหน่วยทหารคิดเหมือนกันด้วย จึงจะเป็นพลัง... ผมอ่านเท่านี้แล้วนึกในใจว่าเห็นทีจะไม่มีทางสำเร็จหรอก เพราะถ้ากำลังพลคิดเหมือนกันจริง เอกสารต่าง ๆ ฉบับแล้วฉบับเล่าของทางราชการทั้งที่ว่าลับมากมันจะหลุดออกมาเผยแพร่ได้อย่างไรหลัง 19 กันยาฯ? ซึ่งมันก็รั่วไหลออกมาจากกำลังพลนั่นแหละ แสดงชัดว่าความคาดหวังที่จะให้เกิดมีเอกภาพระดับนั้น ในหมู่กำลังพลมันเป็นไปไม่ได้ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงจะให้ประชาชนคิดเป็นเอกภาพเหมือนกันตามทหารไปด้วย.....
สมเกียรติ ตั้งนโม: อาจารย์พอจะมีข้อมูลว่าจีนกับอเมริกาเกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สมัย 14 – 6 ตุลาฯ บ้างหรือไม่? อย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ: ในส่วนที่เป็นอิทธิพลทางความคิดคงเห็นได้ชัด อย่างขบวนการนักศึกษาช่วงหลัง 14 ตุลาฯ ที่เอียงซ้ายไปเพราะอิทธิพลความคิดฝ่ายซ้าย 4 สายพันธุ์ผสมกันได้แก่ ซ้ายเก่า ซ้ายใหม่ ซ้ายป่า ซ้ายจีน
ซ้ายใหม่ ก็คือพวกขบวนการ New Left ในตะวันตก เมื่อนักศึกษาไทยไปเรียนเมืองนอกเช่นอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ก็ไปสัมผัสพบเห็นกระแสความคิดและขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเวียดนาม ต่อต้านรัฐบาลและทุนนิยม เรียกร้องสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ได้รับผลสะเทือนทางความคิด ก็มีการแปลผลงานของนักคิดฝ่ายซ้ายเช่น Marcuse แล้วส่งเข้ามาตีพิมพ์เผยแพร่ในไทยตั้งแต่สมัยก่อน 14 ตุลาฯ อันที่จริงคนที่ทักว่าระวังซ้ายใหม่จะบุกไทยคนแรกคือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในคอลัมน์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ นี่เป็นกระแสความคิดที่เข้ามาผ่านทางวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ จากนักวิชาการที่จบเมืองนอกทั้งหลาย
อันที่สองเป็นซ้ายเก่า คือ หลัง 14 ตุลาฯ มีการขุดค้นรื้อฟื้นงานเขียนของนักคิดนักเขียนฝ่ายซ้ายรุ่นทศวรรษ ๒๔๙๐ หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ห่างหายไปเพราะถูกเผด็จการสฤษดิ์-ถนอมเซ็นเซ่อร์ออก มาพิมพ์เผยแพร่ใหม่กันขนานใหญ่ในรูปพ็อกเกตบุ๊คปกอ่อนจากเดิมที่เป็นปกแข็งเพื่อลดต้นทุน เช่น งานของกุหลาบ สายประดิษฐ์ งานของจิตร ภูมิศักดิ์ นวนิยายเรื่องปิศาจของเสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นต้น
อันที่สาม ซ้ายป่า พวกเราสมัยนั้นจะแอบฟังวิทยุคลื่นสั้นสถานีเสียงประชาชนแห่งประเทศไทยของพคท. ทางนั้นเองก็คงรู้ว่าเราฟังอยู่ จึงมีการอ่านช้าให้จดสำหรับบทนำบทความสำคัญ ๆ พวกเราก็พากันจดตามวิทยุแล้วเอาไปพิมพ์ใส่กระดาษไข โรเนียวแจกกัน นอกจากนี้ก็มีส่วนที่เป็นแบบสายตรง ลักลอบนำหนังสือสิ่งพิมพ์ใต้ดินเข้ามาเลย
อันที่สี่ ซ้ายจีน ตอนนั้นยุคประธานเหมาเจ๋อตุง จีนเปิดการทูตแบบตีปิงปองกับประธานาธิบดีนิกสันของอเมริกา ไทยก็เปิดสัมพันธ์การทูตกับจีนตาม หนังสือจากจีนก็เข้ามา มีการพิมพ์สรรนิพนธ์ของเหมาเจ๋อตุง ๘ เล่มชุดโดยสำนักพิมพ์แสงตะวัน แกนนำคือนิสิต จิรโสภณ อดีตนักกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัย เชียงใหม่ผู้ต่อมาตกรถไฟเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ และคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี
กระแสอิทธิพลความคิดฝ่ายซ้ายแต่ละกระแสก็มีบทบาทเฉพาะของมัน
ซ้ายป่า ทำให้ความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมของขบวนการนักศึกษาถึงขั้นแตกหัก ยอมรับเหตุผลความชอบธรรมของการปฏิวัติสังคมด้วยกำลังอาวุธ;
ซ้ายจีน ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ที่แน่นอนชัดเจนเกี่ยวกับสังคมอุดมคติในอนาคต เพราะมีตัวอย่างรูปธรรมของประเทศที่ทำได้จริง;
ซ้ายเก่า ช่วยสนองบรรยากาศ ภาษาศัพท์แสง แบบอย่างรูปธรรมของผลงานศิลปวรรณกรรมแบบไทย ๆ ที่สื่ออุดมการณ์ฝ่ายซ้าย เพราะนักคิดนักเขียนรุ่นทศวรรษ 2490 เป็นปัญญาชนไทยรุ่นแรกที่ผลิตผลงานนำเข้าแนวคิดลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์จากภายนอก เอามาแปลเป็นไทยแล้วสอดใส่ถ้อยคำแนวคิดซ้ายไว้ในกาพย์กลอนเรื่องสั้นนวนิยายไทย ซึ่งพอคนยุค 14 ตุลาฯมาอ่านก็พบว่าเอาเข้่าจริงมันมีงานยุคก่อนที่ประยุกต์ผสมผสานแนวคิดฝ่ายซ้ายเข้ากับสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยอยู่แล้ว ความเป็นซ้ายจึงมีรากเหง้าที่มาธรรมเนียมประเพณีทางภูมิ-ปัญญาและวรรณกรรมทอดหยั่งเป็นกระแสรองอยู่ในมรดกความเป็นไทยที่พวกเขาสืบทอดสานต่อได้;
ส่วนซ้ายใหม่ ทำให้ความคิดฝ่ายซ้ายดูทันสมัย เพราะแพร่มาจากสังคมตะวันตกร่วมสมัยที่ก้าวหน้า มีเนื้อหาท่วงทำนองเหมาะกับนักศึกษาเยาวชนคนเมืองเนื่องจากบริบททางสังคมต้นทางที่แนวคิดนี้ก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มสังคมคล้ายกันและคนรุ่นเดียวกัน
ในแง่อิทธิพลของอเมริกาต่อแนวคิดฝ่ายขวา ช่วงผมทำวิทยานิพนธ์ได้ไปค้นข้อมูลและงานศึกษาย้อน หลังช่วงทศวรรษ 2490 เช่น วิทยานิพนธ์ของคุณธงชัย พึ่งกันไทยและคนอื่น ๆ เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการแอนตี้คอมมิวนิสต์ของรัฐบาล ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเขาทำไว้เยอะ ก็พบว่าช่วงนั้นทางการอเมริกาและฟิลิปปินส์มีการส่งเอกสารข้อมูลแนะนำวิธีการต่อต้านคอมมิวนิสต์มาให้ทางราชการไทยไม่หยุดหย่อน ว่าภัยคอมมิวนิสต์ร้ายแรงอย่างไร จะขัดขวางปราบปรามอย่างไร เป็นต้น เอกสารเหล่า นี้ก็เผยแพร่ในวงราชการ แล้วยังมีหนังแอนตี้คอมมิวนิสต์ของยูซิส (USIS – United States Information Service) มาเร่ฉายในชนบทไทยเป็นต้น
เรื่องการทหาร ช่วง ๑๔ ถึง ๖ ตุลาฯ นอกจากอเมริกามีฐานทัพและกำลังทหารในเมืองไทยแล้ว ก็ปรากฏข้อมูลจากบันทึกของนักศึกษาที่เข้าป่าในชั้นหลังบอกเล่าว่าข้างฝ่ายจีนก็ส่งกองกำลังเข้ามาช่วย พคท. รบกับรัฐบาลไทยในฐานที่มั่นทางภาคเหนือด้วย เพราะว่าพรมแดนมันติดกัน (จันทนา ฟองทะเล (นามแฝง), จากดอยยาวถึงภูผาจิ, ๒๕๓๖)
เรื่องการเงิน ผมไม่เคยค้นคว้า แต่อาจารย์เกษม ศิริสัมพันธ์ อดีตรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยคุยให้ผมฟังว่าตอนนั้นแกได้อ่านรายงานข่าวกรอง พบว่ามีเงินไต้หวันเข้ามาไทยมาก แต่ผมไม่รู้ว่าเกี่ยวกันไหมกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังฝ่ายขวาตอนนั้น ต่อมาหลังผมออกจากป่า ได้ลงเรียนวิชาของอาจารย์อาวุโสคนหนึ่งที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้กันว่าแกแอนตี้คอมมิวนิสต์ แต่แกก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์ปรีดี เคยร่วมกบฏวังหลวง แล้วหนีไปนอก มีครั้งหนึ่งผมเข้าไปรอพบแกที่ห้องพักเพื่อขอลายเซ็นเอกสารบางอย่าง พบว่าชั้นหนังสือของแกเต็มไปด้วยนิตยสารแอนตี้คอมมิวนิสต์ภาษาอังกฤษจากไต้หวันเป็นแถบ ๆ แต่อิทธิพลจากภายนอกเหล่านี้จะมากน้อยแค่ไหน ต้องไปค้นข้อเท็จจริงกันต่อไป
สมเกียรติ ตั้งนโม: อเมริกามีส่วนในการแทรกแซง ทำให้เกิดการฆ่าโหดแบบนั้น หรือเปล่า?
เกษียร เตชะพีระ: ผมไม่ทราบ แต่ให้พูดอย่างฉลาดก็ต้องบอกว่าอเมริกาคงโง่มากถ้ารู้ล่วงหน้าแล้วไม่แทรกแซงห้ามปรามเพราะมันก่อผลเสียทางการเมืองมหาศาล แต่ก็นั่นแหละอเมริกาสามารถแทรกแซงได้มากแค่ไหน อันนี้ผมไม่มีข้อมูล แต่มานั่งคิด ก็ไม่น่าที่จะเป็นเช่นนั้น
แต่การล้อมปราบอย่างโหดเหี้ยมแล้วทำให้ฝ่ายซ้ายแตกพ่ายในเมืองตอน ๖ ตุลาฯ คำอธิบายอาจเป็นได้สองอย่าง อย่างแรก อารมณ์มวลชนมันพาไป ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ตอนนั้นรุนแรงขนาดปลุกให้คนบ้าเลือด ทำอะไรอย่างขาดสติ โหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนาแบบนั้นได้ อย่างหลังคือเป็นการจงใจใช้ความโหด เหี้ยมทารุณเพื่อลงโทษกลางเมืองให้เป็นเยี่ยงอย่าง สยบขวัญให้อยู่ จะได้กลัว ไม่กล้าทำ ไม่กล้าคิดเป็นซ้ายอีก มันเป็นวิธีการลงโทษก่อนสมัยใหม่ เหมือนอย่างที่ Michel Foucault เขียนไว้ในคำนำหนังสือ Discipline and Punish เล่าเรื่องการลงโทษโดยทำทารุณทรมานแล้วใช้ม้าลากดึงฉีกร่างผู้ร้ายคนหนึ่งเป็นสี่เสี่ยงในฐานลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ฝรั่งเศส การลงโทษนั้นทำกันต่อหน้าธารกำนัล เพื่อให้เป็นมหรสพ ชาวบ้านชาวเมืองแห่มาดูมาเห็นแล้วจะได้เกรงกลัวหลาบจำ ไม่มีใครกล้าคิดทำอีก
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช: ขอถามประเด็นชาตินิยม มาถึงสมัยปัจจุบัน มีความสืบเนื่องของประชา-ชาตินิยมเข้ามาอยู่ในกระแสพรรคไทยรักไทยหรือไม่? หมายความว่า ประชาธิปไตยแบบราชาชาตินิยมเป็นฝ่ายหนึ่ง และพรรคไทยรักไทยสามารถยกระดับตัวเองเป็นกระแสชาตินิยมอีกฝ่ายหรือเปล่า?
เกษียร เตชะพีระ: ผมคิดว่าคำถามอาจารย์ มี 2 ส่วนนะครับ ส่วนหลังตอบง่ายกว่าหน่อยแต่อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ทว่าส่วนแรกต้องคิดเยอะทีเดียว ผมขอตอบคำถามส่วนหลังก่อน คือพรรคไทยรักไทยเล่นกับธงชาตินิยมไหม? เล่นครับ เช่น ปลุกชาตินิยมต่อต้านไอเอ็มเอฟภายนอก และแน่นอนรวมทั้งปลุกชาติ- นิยมต่อต้านศัตรูในประเทศด้วย เช่น ไอ้พวกนี้เป็นพวกค้ายา มันเป็นผู้ทรยศชาติ ต้องเล่นงานมัน อะไรก็แล้วแต่ อันนี้เขาเล่นธงชาตินิยมแน่
ผมขอกลับมาคำถามส่วนแรกของอาจารย์ มันเป็นคำถามยากกว่า คือ จากประชาชาตินิยมฝ่ายซ้ายสมัย ก่อน มาถึงชาตินิยมของพรรคไทยรักไทย มันสืบเนื่องกันไหมอย่างไร? ผมคิดว่าเส้นทางความเปลี่ยน แปลงมันวกวนยอกย้อนมาก ผมก็ไม่แน่ใจว่าสืบทอดหรือไม่สืบทอด แต่การที่ป่าแตก พคท. แพ้ ทำให้สิ่งที่เรียกว่า ประชาชาตินิยมฝ่ายซ้าย ประสบวิกฤต ในตัวปาฐกถา 14 ตุลาฯ ที่ผมพูดเมื่อเดือนตุลาฯที่ผ่านมา ผมพยายามจับเรื่องนี้อยู่มาก ตามความเข้าใจของผมก็คือว่า มรดก 14 ตุลาฯในแง่ธงทางการเมือง มี 2 ผืน คือ ธงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยกับธงความเป็นธรรมทางสังคม ทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกันสำหรับคนสมัยนั้น ต่อสู้ให้มีสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในบ้านเมืองเพื่อจะได้ใช้เงื่อนไขนั้นไปต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมหรือสังคมนิยมต่อไปได้ ถ้าได้สิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยมา แต่ไม่สู้ต่อเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมหรือสังคมนิยมแล้ว มันก็เปล่าประโยชน์ไม่มีความหมาย เพราะมันเชื่อมโยงกัน ที่นักศึกษาประชาชนรุ่นนั้นเข้าป่าไปหลัง ๖ ตุลาฯ ส่วนหนึ่งก็เพราะเชื่อในความเชื่อมโยงเหล่านี้
แต่พอป่าแตก - ต้องขอออกตัวก่อนว่าที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ผมยังไม่เคยทำวิจัยเป็นชิ้นเป็นอันนะครับ อันนี้เป็นการวิเคราะห์คาดการณ์น่ะ
ครับ - ผมเข้าใจว่า ธงความเป็นธรรมทางสังคมหรือสังคมนิยมที่ต่อต้านทุนนิยม ถูกวางลง เพราะว่าวิกฤติสังคมนิยมทั่วโลกมันเกิดขึ้น ใครที่ยังคิดว่าทุนนิยมเป็นปัญหา ใครที่ยังคิดว่ายังต้องมีปฏิบัติการทัดทานอำนาจทุนต่อไปนี้ มันมีธงอันใหม่ที่ถูกชูขึ้นมา ดึงดูดคนเหล่านั้นไป ได้แก่ธงเอ็นจีโอ ธงเศรษฐกิจชุมชน และสุดท้ายคือธงเศรษฐกิจพอเพียง คล้าย ๆ กับว่าในเวทีแวดวงการเมืองวัฒนธรรมไทย คนที่คิดว่าทุนนิยมมีปัญหาและชูธงต่อต้านขึ้นเป็นทางเลือกให้เห็นเด่นชัด คือ คนอย่างหมอประเวศ คนอย่างกลุ่มคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เขาบอกว่า ทุนนิยม บริโภคนิยมมีปัญหา ข้อเสนอทางออกของเขาไม่ใช่สังคมนิยม แต่คือทางออกแบบเศรษฐกิจพอเพียง แบบเศรษฐกิจชุมชน ผมคิดว่านั่นเป็นธงที่โดดเด่นขึ้นมา พูดในภาษาผมคืออำนาจนำในแง่การต่อต้านทุนนิยมมันตกอยู่ที่ธงนี้
ส่วนทางด้านอำนาจนำของธงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะ ผมรู้สึกว่าด้านหนึ่งมันมีความพยายามเรื่องประชาธิปไตยทางตรงของกลุ่มพลังประชาชน ชาวบ้านบ่อนอก บ้านกรูด จะนะ หรือ สมัชชาคนจน แต่พอมาถึงจุดนี้ ผมนั่งคิดทบทวนไปมาดูเหมือนว่าเอาเข้าจริงท้ายที่สุดคนที่กุมธงประชา-ธิปไตย กุมอำนาจนำในการต่อสู้กระแสประชาธิปไตยไว้ได้ คือพรรคไทยรักไทยกับทักษิณ มันเป็นประชา-ธิปไตยจากการเลือกตั้ง ซึ่งชนะมาด้วยนโยบายประชานิยม จนเกิดกระแสที่ผู้คนมากหลาย identify ว่าประชาธิปไตยก็คือเขา, ประชานิยมก็คือเขา ซึ่งทุกวันนี้ยิ่งเห็นชัด ในตอนปลายรัฐบาลทักษิณ นายกฯทักษิณบอกว่าที่แกสู้ต่อไม่ยอมแพ้นั้นแกไม่ได้ปกป้องตัวเองนะ แต่แกปกป้องประชาธิปไตยตามวิถีการเลือกตั้งของประชาชน จำได้ไหมครับ
ผมรู้สึกอย่างนี้นะครับ อันนี้พูดอย่างรวม ๆ อาจจะไม่แม่นยำเท่าไหร่ คือสมัยก่อน 14 ตุลาฯ 2516 คนที่เล่นการเมืองก็คือข้าราชการ และวิธีการเล่นการเมืองก็ใช้เส้นสนกลในวิ่งเต้นตามสายราชการกัีบทำรัฐประหาร ส่วนพวกนายทุนหากต้องการส่งอิทธิพลต่อการเมืองและนโยบายอะไรต่าง ๆ ก็ต้องวิ่งเต้นกับข้าราชการนั่นแหละ จนกระทั่งมวลชนเดินเข้าสู่หน้าประวัติศาสตร์เมื่อ 14 ตุลาฯ หลังจากนั้นรูปแบบการเล่นการเมืองก็ปรับเปลี่ยนขยายตัวออกไป เพราะมวลชนไม่มีรถถังจึงไม่สามารถก่อรัฐประหารได้, ไม่มีเส้นสายจึงไม่สามารถวิ่งเต้นอะไรกับใครเขาได้ รูปแบบการเล่นการเมืองของมวลชนจึงได้แก่การเลือกตั้งและการประท้วงบนท้องถนน และล่าสุดคือยื่นเรื่องร้องเรียนกับบรรดาองค์กรตรวจสอบอิสระซึ่งรูปการหลังนี้เกิดขึ้นหลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540
ผมคิดว่ารูปแบบการเล่นการเมืองของมวลชน 3 แบบนี้มั่นคงพอสมควรและจะไม่หายไปไหน ในความ หมายนี้ผมจึงไม่ค่อยห่วงอนาคตของการเมืองภาคประชาชน เว้นแต่ไทยจะเลือกปิดประเทศแบบพม่า แต่ไทยเราเอ็นจอยเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์และทัวริสต์เกินกว่าจะทำอย่างนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องแสดงการเลือกตั้งให้ชาวโลกดูด้วย เขาจะได้ยอมรับเรา ค้าขายลงทุนกับเรา มาท่องเที่ยวเมืองเรา การเมืองบนท้องถนนก็จะไม่หายไป เพราะแม้แต่ฝ่ายราชาชาตินิยมก็ยังใช้ด้วยเลยใช่ไหมครับ ตลอดครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2549 ที่เราเห็นบนท้องถนนก็คือปรากฏการณ์ม็อบราชาชาตินิยมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ฉะนั้นถ้าถามว่าการเมืองภาคประชาชนมีอนาคตไหม? ผมเชื่อว่าไม่หายไปหรอกครับ มันได้เข้าไปอยู่ในคลังแสงทางการเมืองของทุกฝ่าย แล้วแต่ใครจะเข้าไปกุมและใช้มัน
ผู้ดำเนินรายการ: อาจารย์เคยพูดถึงนายทุนที่เข้าสู่วงการเมืองในสมัยปี พ.ศ.2537 จำเป็นหรือไม่จะ ต้องมองนักการเมืองในภาพเลวร้าย ไม่ว่าจะคุณสมัครเอย พรรคพลังประชาชนเอย มันไม่ใช่ทางเลือกในปัจจุบันเลยหรือ? เพราะถ้าไม่ยอมรับกันแล้ว ความขัดแย้งทางการเมืองจะตัดสินกันอย่างไร จะยอมกันอย่างไรในระบบรัฐสภา? สุดท้ายมันอาจจะกลายเป็นเงื่อนไขให้แก่กลุ่มนอกรัฐสภา มาจัดสรรอำนาจทางการเมืองในสังคมไทยแทน
เกษียร เตชะพีระ: มันมีสองอย่างซ้อนกันอยู่ในคำถามที่ผมได้ยินนะครับ คำถามแรกก็คือพูดอย่างตรงไปตรงมา มันมีอคติต่อนักเลือกตั้ง อันนี้มีมรดกมายาวนาน ผมเป็นส่วนหนึ่งของมรดกนี้ อย่างที่บรรยายไปว่าประชาชาตินิยมฝ่ายซ้ายไม่สนใจประชาธิปไตยในแง่รูปแบบสถาบัน เน้นอำนาจที่เป็นเนื้อหาของคนชั้นล่าง ไม่เคยคิดเลยว่าสถาบันในระบบการเมืองเช่นการเลือกตั้ง พรรคเลือกตั้ง รัฐสภา ฯลฯ จะเป็นเวทีการต่อสู้ทางการเมืองที่สำคัญได้ นี้เป็นจริตแบบเหมาอิสม์และผมก็เติบโตมาในธรรมเนียมการคิดแบบนี้ มีคตินี้อยู่ในตัว แล้วอย่างที่เป็นอยู่จริงในสังคมไทย การเมืองในระบบเลือกตั้งแบบนี้ก็ค่อนข้างจะเป็นเวทีของเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลและกลุ่มทุนใหญ่ ทำให้รู้สึกว่าที่ผ่านมา มันไม่มีโอกาสที่จะใช้ช่องทางพวกนี้ไปบรรลุอะไรได้สักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับช่องทางการเมืองบนท้องถนน แม้แต่สมัยรัฐบาลคุณชวน หลีกภัยก็ยังไม่ใช่ รัฐบาลจากการเลือกตั้งตอนนั้นยังเป็นส่วนยอดของแกนอำนาจเทคโนแครตราชการ และดำเนินนโยบายตามเทคโนแครตและระบบราชการ
ผมคิดว่าความเปลี่ยนแปลงมาเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของคุณทักษิณ ช่วงคุณทักษิณนี้แหละที่กระบวนการจัดวางนโยบายเปลี่ยน และรัฐบาลกับพรรคการเมืองกำหนดนโยบายเองแล้วให้ราชการรับไปทำได้ และนโยบายเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม มีพลังมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองเสนอนโยบายแล้ว ชนะใจประชาชน ไม่ใช่เพราะเส้นสายเครือข่ายอุปถัมภ์ ไม่ใช่เพราะเครือข่ายหัวคะแนนเลือกตั้งในอดีต พรรคไทยรักไทยสามารถคิดนโยบายที่สอดคล้องตอบสนองสภาพชีวิตและปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมของคนจนและคนชายขอบ นโยบายแบบนี้แหละที่จะมีอายุยืน ที่สอดรับเชิงโครงสร้างกับความเป็นจริงของสังคมเศรษฐกิจไทย ซึ่งพรรคอื่นต่อให้ไม่ใช่พรรคไทยรักไทยก็จะต้องทำต่อ
ดังนั้น ในความหมายนี้ คงเป็นเรื่องยากที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบที่รัฐบาลสุรทธทำจะชนะประชานิยมได้ เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสำหรับคนดี แต่ประชานิยมไม่ได้เรียกร้องให้คุณเป็นคนดี ก่อนรับเงิน 30บาท หรือก่อนที่จะรับเงินกู้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
ผมพูดอย่างซีเรียสนะครับ เพราะว่าในงานวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ที่ได้ไปทำวิจัยภาคสนามมา [3] พบว่าคนที่ไปเข้าร่วมหมู่บ้านในโครงการพระราชดำริไม่ได้มีชีวิตสะดวกสบายแบบสังคมบริโภคนิยมในเมือง โดยทั่วไปเขาไม่มีทีวี และครอบครัวเดียวที่มีทีวีในหมู่บ้านก็เปิดดูอยู่เวลาเดียวทั้งวัน คือข่าวในพระราชสำนักช่วง 2 ทุ่ม เท่านั้น เราทำได้เหรอครับ นี่คือชาวบ้านที่ไม่ยอมเอาธนบัตรใส่กระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะบนธนบัตรมีพระบรมฉายาลักษณ์ นึกออกไหมครับ เพื่อจะร่วมปฏิบัติปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยอุดมการณ์เหนียวแน่นพอสมควร ถึงจะต้านทานทุนนิยม บริโภคนิยมอย่างนั้นได้
และผมคิดว่าคนที่อยู่กับสังคมบริโภคนิยมแบบเรา ๆ คงลำบากมากที่จะไปอยู่ตรงนั้น เมื่อเผชิญนโยบายประชานิยม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบที่รัฐบาลสุรยุทธ์ทำอาจไม่มีพลังพอที่จะสู้ เพราะกล่าวให้ถึงที่สุดก็เป็นแค่เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแค่นั้นเอง
ผมคิดว่ามันน่าจะมีทางเลือกนโยบายอย่างอื่นที่ดีกว่านี้ เช่น รัฐสวัสดิการ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นจริงทางสังคมว่า ตราบที่รัฐสวัสดิการยังไม่กลายเป็นนโยบายรูปธรรมที่มีพรรคการเมืองหนุนหลัง คนก็ย่อมจะเลือกเอาประชานิยม ผมว่ามาถึงจุดนี้ เรามาถึงเพดานความเป็นไปได้ของรูปการการต่อสู้บนท้องถนนแล้ว และถ้าเราไม่เดินไปสู่รูปการการต่อสู้แบบพรรคการเมือง รัฐสภา และนโยบายทางเลือก เราก็ไม่มีทางชนะประชานิยมของไทยรักไทย อันนี้เป็นขีดจำกัดของเรา
ส่วนที่เสนอว่า ทำไมไม่มองนักเลือกตั้งด้วยสายตาใหม่? ทำไมไม่มองนักการเมืองด้วยสายตาใหม่? เอางี้แล้วกันครับ ถ้าความเลวทรามต่ำช้าของผมที่ผ่านมาคือการมองนักการเมืองนักเลือกตั้งด้วยสายตาค้านลบด้านเดียวแล้ว ผมก็อยากเตือนท่านด้วยความเคารพรักว่า อย่าเพิ่งมองนักการเมืองนักเลือกตั้งด้วยสายตาด้านบวกด้านเดียวเช่นกัน ที่ถูกเราควรมองเขาอย่างที่เขาเป็นจริง และใช้เขาในฐานะเครื่องมือเพื่อไปบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่สำคัญ ว่าเราท่านจะใช้เครื่องมืออย่างนั้นอย่างไร ถ้าท่านคิดว่าที่ผ่านมาผมทำผิดแล้ว ก็อย่าทำซ้ำความผิดของผมในมุมกลับสิครับ
สายชล สัตยานุรักษ์: ฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวามองความรักชาติต่างกันอย่างไร? และผลที่ตามมาเป็นอย่างไร? อีกคำถามคือพอเข้าใจได้ว่าทำไมฝ่ายขวาคิดแบบอำนาจนิยม แต่ทำไมฝ่ายซ้ายก็คิดแบบอำนาจนิยมด้วยเหมือนกัน? ดังที่อาจารย์พูดว่าฝ่ายซ้ายก็นึกถึงรัฐแบบเครื่องมือเหมือนกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นในเมื่อฝ่ายซ้ายมีอุดมการณ์ที่เชื่อว่าจุดหมายบั้นปลายคือการสลายรัฐ
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ: ผมขออนุญาตทดลองตอบแบบกวนตีนนะครับ คือในระยะยาวเราก็ต้องการสลายรัฐแบบที่อาจารย์พูดเหมือนกัน ปัญหาอยู่ตรงในระยะยาวนั้น พวกเราก็คงตายกันหมดแล้ว (in the long run, we are all dead) ผมขอแนะนำให้อาจารย์ลองอ่านหนังสือของคริส เบเกอร์ กับอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร เล่มล่าสุดเรื่อง A History of Thailand ในบทต้น ๆ ทั้งคู่ตั้งข้อสังเกตบางอย่างไว้น่าสนใจ หากพูดใหม่ด้วยภาษาของผมคือถ้าข้ามการแบ่งค่ายแบ่งขั้วทางการเมืองระดับทั่วไปเช่น ซ้าย/ขวา, royalist/anti-royalist ฯลฯ และมองในระดับ Meta-Discourse คือเหนือกว่าหรือข้ามพ้นวาทกรรมที่ฝ่ายต่าง ๆ ใช้แล้ว การเมืองไทยแบ่งออกเป็น 2 Traditions ใหญ่ๆ ได้แก่ – ขออนุญาตใช้ภาษาตีความของผมอีกนั่นแหละครับ - แบบรัฐนิยม กับ แอนตี้รัฐ โดย Tradition รัฐนิยม เชื่อว่ามีอำนาจรัฐแล้วจะแก้ปัญหาได้ ในกรอบนี้ ขวากับซ้ายไม่แตกต่างกัน คือซ้ายสมัยนั้นก็เชื่อแบบเนื้อเพลงปฏิวัติที่ชื่อ “ฝ่าพายุ” ว่า“อำนาจรัฐของประชา จะได้มานั้นต้องลุกขึ้นจับปืน ติดตามพรรคไปทุกวันคืน หนทางอื่นไม่มีแล้วแน่นอน” ขอให้ได้อำนาจรัฐมาก่อนแล้วจะแก้ปัญหาของโลกได้ และเผอิญฝ่ายขวาเองก็เชื่ออย่างนั้นเหมือนกัน
ในแง่กลับกัน อีก Tradition แอนตี้รัฐ ผมหมายถึงคนอย่างเทียนวรรณ นรินทร์ ภาษิต และบรรดากบฏทางปัญญาความคิดคนอื่น ๆ หรือ แนวคิดแบบชาวบ่อนอก บ้านกรูด หรือชาวบ้านสมัชชาคนจนที่ลุกขึ้นมาประท้วงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ พวกเขาคือคนที่คิดว่ารัฐแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้พวกเขาไม่ได้แล้ว มิหนำซ้ำยังรัฐยังเป็นตัวสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้พวกเขาเสียเอง วิธีแก้ปัญหาจึงต้องเริ่มจากข้างนอกรัฐ เช่นในระดับหมู่บ้านชุมชนและเครือข่ายสังคมเป็นต้น
000
เชิงอรรถโดยประชาไท
[1] เกษียร เตชะพีระ เคยนำเสนอเรื่องนี้มาก่อนแล้ว โปรดดู “การเมืองไทยจาก ๑๔-๖ ตุลาฯ: สองชาตินิยมชนกัน” ใน มติชนสุดสัปดาห์, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1156 (14-20 ต.ค. 2545), หน้า 30, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1157 (21-27 ต.ค. 2545), หน้า 38-39, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1158 (28 ต.ค. – พ.ย. 2545), หน้า 43.
ต่อมามีการนำเสนอบทความนี้ เป็นบทความลำดับที่ 1441 ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550) โปรดดู เกษียร เตชะพีระ, “การเมืองไทยจาก ๑๔-๖ ตุลาฯ: สองชาตินิยมชนกัน” ใน เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
[2] รายละเอียดของเอกสารลับดังกล่าว โปรดดู ประดาบ (นามแฝง) “เปิดคำสั่งลับ “สนธิ” ทำสงครามประชาชน” ใน เว็บไซต์ไฮทักษิณ 11 พ.ย. 2550.
เอกสารลับมากฉบับนี้ออกมาจากส่วนราชการ ยก.ทบ. (กองนโยบายและแผน) เลขที่หนังสือ กห 0403/512 วันที่ 26 กันยายน 2550 เรื่อง สรุปการบรรยายพิเศษและการประชุมมอบโอวาทของผบ.ทบ. ให้กับ ผบ.หน่วยระดับกองพันขึ้นไป โดย พล.ต. อักษรา เกิดผล จก.ยก.ทบ. ทำถึง ผบ.ทบ. เพื่อขออนุญาตนำคำบรรยายของผบ.ทบ. ไปแจกจ่ายเพื่อนำไปยึดถือเป็นกรอบในการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพ (คลิกที่นี่เพื่ออ่านเอกสาร 1 หรือ 2)
[3] ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550).
โดยปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2547 ของชนิดาเอง
Source : ประชาไท , 10 มกราคม 2551
1/19/2008
Sexuality Studies in Thai Society
And that's exactly what happened at the Conference on Sexuality Studies in Thai Society. Just ask the blushing interpreter
Published on January 16, 2008
Last week's two-day Conference on Sexuality Studies in Thai Society, the first in what is planned as an annual exchange on modern sex, was largely an academic affair. But there were more than 20 decidedly non-academic speakers who made good use of the forum's onstage microphone to share their "sexperiences".
If government censors had been in attendance, such casual talk might have been abruptly shut down.
"This stage is challenging Thai society," declared Jaded Chouwilai, manager of the Friends of Women Foundation, who spoke frankly about being raised by a mother who made him do household chores and a father who encouraged macho stuff like boozing.
It took Jaded a long time to overcome his confusion and determine that mixing alcohol and sexuality is hazardous to health - individual mental and physical health and society's health as well.
Another speaker lay down on the floor of the stage to try and explain her inter-gender experience. Still another offered a litany of her bed partners.
One man related how he overcame years of loathing for people who were "different" before learning to accept diversity. A young woman explained how Japanese manga comics taught her about sex.
For the time being, weighty subjects like what the late French sexologist Michel Foucault discovered were set aside.
Each speaker had five minutes, though an extra minute was allowed if they brought along a sex toy that might need some explaining.
No recording was allowed. The meeting room at the Rattanakosin Hotel was a comfort zone.
The primary aim of the conference was to free Thai minds of conventional misperceptions about sexuality, and to promote an acceptance of diversity in sexual orientation. Wrong-headed ideas might be well established in this country, participants stressed, but they shackle the ability to enjoy life and in fact make things worse, by fostering such scourges as Aids and sex crimes.
Guest speaker Chalidaporn Songsamphan, a political-science professor at Thammasat University, said Thai society inherited its concepts of sexuality from Victorian Europe: freedom and control for men, submissiveness for women. That structure was abandoned long ago in the West, she pointed out, but it's still the norm here.
Most Thais remain unable to discuss sex openly, even with friends, and the result is widespread ignorance about it. Information comes from the mass media, which stick to outdated conventions. "You assume that this is healthy sexuality," Chalidaporn said, and people - preferring to conform - are "trapped" in an impractical social construct.
Escape, she said, lies in accepting that there is sexual diversity.
"Our problem is that the conservatives can't just let go of the difference. They want everyone to conform."
With at least 300 people at the conference, organiser Anjana Suvarnananda expressed hope that it would be a first step in changing people's perceptions.
"We want everyone to speak their minds without fear of being attacked by the audience or the public," she said.
"The speakers' stage," Jaded noted, "was created because people can't talk about sex anywhere else." But the stage has to become increasingly larger, he said, and extend well beyond the seminar rooms.
Few Thai wives are allowed to display their sexual desire, Jaded said, or, conversely, to reject their husbands' advances. Such submissiveness can lead to unhealthy sexuality and even domestic violence, he warned, but "speaking up will help ease the problem".
The onstage presentations were encouragingly relaxed. Speakers talked freely about their experiences and the audience nodded or laughed along in complete understanding.
Things got so casual at one point that an interpreter blushed while struggling to find the right English expressions for what the Thai speaker was saying. "Some of the words were uncommon," the interpreter said later, "and I was taught that they were rude!"
Overcoming the blush factor was, of course, the organisers' goal.
Sirinya Wattanasukchai
The Nation
Thai Topic : Thai Monarchy
Thai Monarchy
Paper about Thai Monarchy : The King Never Smiles
งานวิชาการ ‘ไทยศึกษา’ : นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิจารณ์ The King Never Smiles ( ฉบับเต็ม )
เมื่อวันที่ 10 มกราคม เวลา 15.00 น. ที่ห้อง 301 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ได้เสนอบทวิพากษ์หนังสือ The King Never Smiles ของ Paul Handley ในหัวข้อเรื่อง ‘Monarchy III : Critical Comments on Paul Handley's The King Never Smiles (panel discussion)’ อันเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมทางวิชาการไทยคดีศึกษา ครั้งที่ 10 (The 10th International Conference on Thai Studies) ซึ่งจัดโดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 9-10 มกราคม 51
อย่างไรก็ตาม ในวันดังกล่าว อ.นิธิ ไม่ได้นำเสนอบทวิพากษ์จนจบเนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา ‘ประชาไท’ จึงได้ขออนุญาต อ.นิธิ นำเสนอบทวิจารณ์ฉบับเต็มจากเอกสารเพื่อเตรียมการนำเสนอ ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้วิจารณ์และสถาบันไทยคดีศึกษาผู้จัดงานมา ณ ที่นี้
0 0 0
งานวิชาการ ‘ไทยศึกษา’ : ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิจารณ์ The King Never Smiles (ฉบับเต็ม)
1
ก่อนอื่นต้องขออภัยผู้เขียน (พอล แฮนด์ลีย์) ไว้ในที่นี้ด้วย เพราะไม่อยู่ในที่นี้ การวิจารณ์นี้อาจมาจากความเข้าใจผิดในเนื้อหาที่นำเสนอ โดยผู้เขียนไม่อาจชี้แจงได้
2
ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 รัฐศาสตร์ไทยไม่มีอะไรจะพูดมากนักเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากเป็นที่เคารพสักการะของปวงชน ฉะนั้นจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ทำให้ประเทศไทยรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้ ท่ามกลางความแตกแยกแตกต่างนานาชนิดในประเทศไทย
อันที่จริง นับตั้งแต่ 2490 เป็นต้นมา หรือโดยเฉพาะหลัง 2500 เป็นต้นมา ได้ปรากฏบทบาททางสังคมและวัฒนธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเข้มข้นมากขึ้นตามลำดับอยู่แล้ว แต่รัฐศาสตร์ไทยก็ไม่ได้สนใจจะอธิบายบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์แตกต่างไปจากที่กล่าวแล้ว (ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงบทบาททางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจที่เนื่องอยู่กับสถาบันฯ ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วมาพร้อมกัน)
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงสามารถยุติการนองเลือดในเหตุการณ์ 14 ตุลา สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ผู้คนนอกประเทศไทยอย่างมาก รวมทั้งนักวิชาการไทยคดีศึกษาหลายท่าน แต่รัฐศาสตร์ไทยก็ไม่มีคำอธิบายอันใดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพระราชอำนาจที่ทรงยุติการนองเลือดนั้น ยังสามารถใช้กรอบคำอธิบายเดิมได้อยู่ กล่าวคือโดยอาศัยฐานะที่ทรงเป็นศูนย์รวมของชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพสักการะมาแต่อดีต เป็นเงื่อนไขที่เปิดให้ทรงสามารถยุติการนองเลือดได้ เป็นบทบาทเดิมที่มีอยู่แล้ว คือรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ ท่ามกลางความแตกแยกขัดแย้งซึ่งทำให้เกิดความรุนแรงและวิกฤตทางการเมือง
สิ่งที่น่าประหลาดก็คือ รัฐศาสตร์ไทยยอมรับมานานแล้วว่า หลัง 2475 มาจนถึง 2590 เป็นอย่างน้อย สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีสถานะตกต่ำลงอย่างมาก ทั้งเพราะความพยายามของคณะราษฎรหรือบางคนในคณะราษฎรที่จะจำกัดบทบาทของสถาบันฯลง และเพราะพระมหากษัตริย์ทั้งสองรัชกาลยังทรงพระเยาว์อยู่ ฉะนั้นการกลับมามีความสำคัญถึงสามารถยุติการนองเลือดใน พ.ศ.2516 ได้ จึงต้องมาจากความเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย ไม่ใช่การสืบเนื่องตามปรกติแน่ แต่ก็ไม่มีความพยายามจะอธิบายกระบวนการกลับฟื้นคืนความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นระบบในทางวิชาการ หากมีการกระทำเช่นนั้น ก็จะทำให้เห็นพลวัตของสถาบันฯซึ่งจะช่วยทบทวนกรอบคำอธิบายบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้กันอยู่ได้
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นต้นมา กรอบคำอธิบายที่เคยใช้มาแต่เดิมดูเหมือนไม่สามารถอธิบายบทบาททางการเมืองของสถาบันฯได้ง่ายอีกแล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่สามารถเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นยัดลงไปในทฤษฎีหรือกรอบคำอธิบายที่ใช้กันมาแต่เดิมได้ (แม้แต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่สาธารณชน ไม่นับข้อเท็จจริงที่ไม่รู้กันแพร่หลาย) ยกเว้นแต่ไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เลย หรือแยกข้อเท็จจริงออกจากตัวทฤษฎีหรือกรอบคำอธิบาย กลายเป็นสองอย่างที่ไม่เกี่ยวกัน
ควรกล่าวด้วยว่า ในระยะเวลาหลัง 6 ตุลา 2519 เป็นต้นมา มีงานบทความวิชาการของนักรัฐศาสตร์ทั้งไทยและเทศอยู่บ้าง (ส่วนใหญ่เทศ เพราะบรรยากาศของเสรีภาพทางวิชาการไม่เปิดกว้างในประเทศไทย) ที่จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ตั้งคำถามกรอบคำอธิบายเดิมเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง ซึ่งนำมาสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา แม้ไม่ได้วิพากษ์กรอบคำอธิบายโดยตรง แต่โดยนัยะก็ทำให้เห็นว่าไม่สามารถใช้เพื่อเข้าใจบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างแน่นอน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเพียงบทความเดียวคือ "บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม" ของศาสตราจารย์เบเนดิค แอนเดอร์สัน
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นภาพรวม เพิ่งปรากฏในระยะประมาณ 5 ปีมานี้เอง และในบรรดางานทั้งหมด งานของคุณพอล แฮนด์ลีย์ เป็นงานศึกษาที่เจาะลึกประเด็นนี้อย่างละเอียดที่สุด พร้อมกับเสนอกรอบคำอธิบายใหม่ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจการเมืองไทยได้ดีขึ้นหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ เป็นปัญหาทางวิชาการที่ต้องรอการพิสูจน์จากงานวิชาการรัฐศาสตร์เรื่องอื่นๆ ของนักวิชาการอื่นๆ
ในส่วนนักไทยคดีศึกษาในประเทศไทย ผมคิดว่านี่เป็นหนังสือที่ขาดไม่ได้ และอาจหาอ่านได้ไม่ยากนัก ทั้งในภาษาอังกฤษและไทย แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะถูกเจ้าพนักงานการพิมพ์ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกตั้งแต่หนังสือยังไม่ได้วางตลาดก็ตาม
ผมควรกล่าวด้วยว่า นอกจากงานด้านบทบาททางการเมืองของสถาบันฯโดยตรงแล้ว ในระยะประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ก็มีงานศึกษาอื่นๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ปรากฏขึ้นในวงวิชาการเหมือนกัน เช่นการศึกษาโครงการพระราชดำริ, การยึดกุมพื้นที่ในสื่อ, บทบาทของสำนักงานทรัพย์สินในเชิงธุรกิจ, วิเคราะห์พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท-พระราชนิพนธ์ เป็นต้น งานของคุณแฮนด์ลีย์ โดยเฉพาะกรอบคำอธิบายใหม่ที่คุณแฮนด์ลีย์เสนอนั้น สามารถครอบคลุมความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้ซึ่งเกิดจากการศึกษาประเด็นที่อาจไม่เกี่ยวโดยตรงกับสถาบันฯกับการเมือง
ในช่วงปัจจุบัน ภาระทางวิชาการของนักไทยคดีศึกษาคือการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของคุณพอล แฮนด์ลีย์ เพื่อประเมินจุดอ่อนจุดแข็งทางวิชาการ โดยส่วนตัว ผมคิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเท็จจริง เรื่องใดถูก เรื่องใดผิด ก็มีความสำคัญ แต่ยังไม่สำคัญเท่ากับการวิพากษ์วิจารณ์กรอบคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ หยั่งดูว่ากรอบคำอธิบายใหม่นี้ สามารถส่องสว่างไปยังมิติอื่นๆ ในการเมืองไทยได้มากน้อยเพียงไร และราบรื่นไม่สะดุดหรือไม่อย่างไร กล่าวโดยสรุปก็คือ กรอบคำอธิบายนี้มีอำนาจอธิบายได้มากน้อยเพียงใด และผมจะขอทำเฉพาะส่วนนี้เท่าที่มีความสามารถทำได้
3
และในส่วนนี้ ผมเห็นว่างานของคุณพอล แฮนด์ลีย์มีคุณค่ามหาศาลต่อการศึกษาการเมืองไทย เพราะเป็นการท้าทายกรอบคำอธิบายเดิมซึ่งใช้กันมานาน ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏขึ้นไม่อาจบรรจุลงในกรอบคำอธิบายนั้นได้อีกต่อไป นอกจากนี้ หากดูถึงผลงานศึกษามิติด้านต่างๆ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีนักวิชาการศึกษามากขึ้นในระยะหลัง ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดข้อมูลข้อเท็จจริงอื่นๆ มากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมทำให้กรอบคำอธิบายเดิมซึ่งใช้กันมานานนั้นยิ่งไม่ทำงาน หรือไม่อาจอธิบายอะไรได้มากขึ้นไปอีก ฉะนั้นไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่กับกรอบคำอธิบายที่คุณแฮนด์ลีย์เสนอ ก็เป็นภาระหน้าที่ของเราในการสรรหาและสรรค์สร้างกรอบทฤษฎีใหม่ เกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอยู่นั่นเอง
4
ในส่วนการสร้างกรอบคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ผมคิดว่ามีงานอยู่อย่างน้อยสองชิ้นที่ควรกล่าวถึงเพื่อเปรียบเทียบกับงานของคุณพอล แฮนด์ลีย์
งานชิ้นแรกเป็นของท่านอาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เรื่องพระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย ดูประหนึ่งว่างานชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบโต้งานของคุณแฮนด์ลีย์โดยตรง
ในคำนำ ท่านอาจารย์นครินทร์ได้กล่าวสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นการชี้จุดอ่อนในงานของคุณแฮนด์ลีย์ได้อย่างดีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ว่า “... และพระองค์ไม่ได้ทรงมีความสามารถและไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยมีความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ไปได้ตลอด หรือในทางกลับกัน พระองค์ก็ทรงไม่สามารถที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยตกต่ำถึงขีดสุดด้วยพระองค์เองตามลำพัง ซึ่งการพิจารณาอย่างสุดโต่งในทางหนึ่งทางใด ล้วนไม่มีความสอดคล้องกับการศึกษาระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่ได้มีวิวัฒนาการอยู่ในประเทศต่างๆ และวิวัฒนาการในประเทศไทยด้วยในตลอดระยะเวลา...”
แต่น่าเสียดายที่ว่า ในชิ้นงานของหนังสือทั้งเล่ม เกือบไม่ได้ใช้เนื้อที่ในการวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของสถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ส่งเสริมหรือขัดขวางประชาธิปไตยแต่อย่างใด เช่น หากทรงส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สถาบันฯได้ใช้พลังอะไรส่วนไหนของสถาบันฯ และอย่างไร ในการผลักดันให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ ท่ามกลางกระแสที่ขัดขวางประชาธิปไตยจากกลุ่มพลังต่างๆ อะไรคือข้อจำกัดที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจทำได้มากกว่านั้น หรือในทางอื่นๆ นอกจากทางที่ได้ทำไปแล้วนั้น
เนื้อหาทั้งหมดคือบทบาททางการเมืองของกลุ่มพลังต่างๆ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกับสถาบันฯบ้าง ไม่ราบรื่นบ้าง กลุ่มพลังเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันในทางการเมืองอย่างเข้มข้น โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ห่างๆ ยกเว้นแต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งใด พระมหากษัตริย์ก็จะทรงเข้ามาแก้ไข เพื่อให้อย่างน้อยรูปแบบของประชาธิปไตยสามารถดำเนินต่อไปได้
พระราชกรณียกิจทั้งหมด จึงไม่เคยถูกพิจารณาในฐานะ "การกระทำทางการเมือง" ไม่ว่าการเสด็จเยือนประชาชน, โครงการพระราชดำริ, หรือพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกพิจารณาว่าเป็นสถาบันที่ "ไม่การเมือง" ฉะนั้นที่เรียกว่าวิกฤตการเมืองครั้งต่างๆ จึงเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากกลุ่มพลังต่างๆ ที่ไม่อาจจัดความสัมพันธ์ให้ลงตัวได้เอง สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีส่วนในพัฒนาการของวิกฤตนั้นๆ ยกเว้นแต่ระงับความขัดแย้งที่รุนแรงเกินไป
ข้อความในคำนำทำให้เราคิดว่า กรอบคำอธิบายใหม่ที่ท่านอาจารย์นครินทร์จะเสนอก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการเมืองไทย มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยสำคัญทางการเมืองอื่นๆ อย่างไร มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวท่ามกลางเงื่อนไขนานาชนิดที่ไม่ได้อยู่ในความควบคุมของสถาบันฯทั้งหมด แต่เนื้อหาของหนังสือไม่ได้เกี่ยวอะไรกับที่พึงคาดหวังเลย สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงเป็นสถาบัน "ไม่การเมือง" ที่ลอยอยู่พ้นออกไปจากฉากการเมืองไทย เสด็จลงมาเพียงครั้งคราวในยามจำเป็นที่บ้านเมืองตกอยู่ในวิกฤตเท่านั้น กรอบคำอธิบายเช่นนี้ไม่ต่างอะไรจากที่พบได้ในงานรัฐศาสตร์ไทยทั่วไปก่อน 6 ตุลา 2519
5
กรอบคำอธิบายอีกอันหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก เป็นของท่านอาจารย์ดันแคน แมคคาร์โก นั่นก็คือจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ต้องมองสถาบันฯเป็นเครือข่ายของความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ในสังคม ไม่ใช่มองจากตัวบุคคลคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพียงจุดเดียว ในฐานะที่เป็นเครือข่ายย่อมมีทั้งศักยภาพและข้อจำกัดทางการเมืองหลากหลายประการ แม้กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เครือข่ายนี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเมืองไทย โดยเฉพาะในเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
โดยส่วนตัว ผมออกจะเห็นว่า กรอบคำอธิบายนี้มีจุดอ่อนน้อยกว่ากรอบคำอธิบายของคุณแฮนด์ลีย์ อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรม ควรกล่าวด้วยว่า คุณแฮนด์ลีย์เองก็คำนึงถึงเครือข่ายของสถาบันฯอย่างมากเช่นกัน และใช้เนื้อที่จำนวนมากเพื่อบรรยายถึงการสร้างเครือข่ายดังกล่าว เพียงแต่ว่าคุณแฮนด์ลีย์เน้นการกระทำหรือไม่กระทำของศูนย์กลางของเครือข่าย คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและกลุ่มเจ้านาย+ข้าราชการจารีตนิยมเป็นผู้กระทำแต่ฝ่ายเดียว จนทำให้ดูเหมือนคนในศูนย์กลางเป็นผู้กดปุ่มให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่ได้ตามต้องการและตามใจชอบแต่ฝ่ายเดียว
อันที่จริง เวลาเราพูดถึงเครือข่าย เรากำลังพูดถึงความสัมพันธ์สองทางเสมอ ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังจากอีกฝ่ายหนึ่ง เราจึงไม่อาจพูดถึงเครือข่ายจากฝ่ายเดียวได้ ต้องมองกลับไปอีกฝ่ายหนึ่งด้วยว่า การร่วมอยู่ในเครือข่ายนั้นๆ สอดคล้องกับอำนาจ, ผลประโยชน์, เกียรติยศ, ฯลฯ อะไรของตัวบ้าง ดังเช่นความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นกลางกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการบางท่าน เช่น ท่านอาจารย์คริส เบเคอร์ กลับเห็นว่า บทบาทและมโนภาพว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ปกป้องสนับสนุนประชาธิปไตย เป็นบทบาทและมโนภาพที่คนชั้นกลางไทยสร้างขึ้นเอง (เพื่อเสริมพลังทางการเมืองของตนในการคานอำนาจกับกลุ่มพลังอื่นที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตย หรือรูปแบบของประชาธิปไตย) กรอบคำอธิบายนี้น่าสนใจมาก และน่าจะทดลองใช้เพื่อศึกษาปรากฏการณ์จริงเป็นอย่างยิ่งว่ามีอำนาจอธิบายการเมืองได้มากน้อยเพียงไร อย่างไรก็ตาม กรอบคำอธิบายของอาจารย์เบเคอร์ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ถึงคนชั้นกลางระดับปัญญาชนท่านหนึ่ง ที่ร่วมเรียกร้องนายกฯ พระราชทานก่อนการรัฐประหาร ท่านยอมรับอย่างเปิดเผยว่า การที่ท่านเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มที่ประกาศตนเองเป็นราชนิกุลนั้น ก็เพราะท่านนึกถึงตัวเองเหมือนเวียดกง ย่อมคว้าอาวุธทุกอย่างที่ใกล้มือ เพื่อทำร้ายศัตรูของชาติ
งานของคุณแฮนด์ลีย์ไม่ให้เนื้อที่ในการพูดถึงความซับซ้อนของเครือข่ายเลย ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์หลุดลอยไปจากสังคม กลายเป็นธรรมะ-เทวราชาไปจริงๆ เพราะเป็นฝ่ายผู้กระทำแต่ฝ่ายเดียว จึงยิ่งทำให้จุดอ่อนของงานเห็นได้ชัดมากขึ้น และในทัศนะของผม นี่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดของกรอบคำอธิบายใหม่ที่คุณแฮนด์ลีย์เสนอ
ในทางตรงกันข้าม ผมควรกล่าวด้วยว่า การพิจารณาสถาบันพระมหากษัตริย์จากเครือข่ายความสัมพันธ์ อาจนำเราไปสู่ข้อสรุปที่เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอเกินกว่าจะมีบทบาททางการเมืองที่มีนัยะสำคัญใดๆ ได้ เช่น สฤษฎิ์ ธนะรัชต์ เป็นฝ่ายใช้ประโยชน์จากสถาบันฯ ไม่ใช่สถาบันฯใช้ประโยชน์จากสฤษฎิ์, ในขณะที่สถาบันฯเองไม่มีทางเลือกอื่นหลัง 2475 มากไปกว่า สร้างพันธะกับระบอบรัฐธรรมนูญ ดังความเห็นของท่านอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ (หากผมเข้าใจบทวิจารณ์ของท่านถูกต้อง) ผมเห็นว่านี่ก็เป็นจุดอ่อนในทางตรงข้าม แต่ทำนองเดียวกันกับกรอบคำอธิบายของคุณแฮนด์ลีย์ คือสถาบันฯกลายเป็นเหยื่อที่แทบจะไม่อาจส่งผลกระทบอะไรต่อการเมืองได้เลย
6
ในท้ายที่สุดจากการอ่านงานของคุณแฮนด์ลีย์ และคำอภิปรายโต้แย้งทางวิชาการของบุคคลต่างๆ ทำให้ผมเกิดความคิดขึ้นสองประการที่ใคร่เสนอไว้ในที่นี้
ประการแรก คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นกลางกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อาจเป็นได้ว่าบทบาททางการเมืองโดยเฉพาะมโนภาพเกี่ยวกับสถาบันฯที่เรารู้จักในปัจจุบันนั้น คนชั้นกลางเองมีส่วนสร้างขึ้นอยู่ไม่น้อย แต่ปัญหาก็คือประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และกลุ่มคนที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่สุดคือคนชั้นกลาง (รวมทั้งทุนใหญ่ๆ ทั้งหลายซึ่งน่าจะทำงานในลักษณะทุนนิยมเข้มข้นขึ้น) คนชั้นกลางและทุนจะพอใจกับบทบาทและมโนภาพของสถาบันฯดังที่เป็นอยู่ปัจจุบันต่อไปหรือไม่ หรือจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและมโนภาพนั้นในภายหน้าเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน คนชั้นกลางกับทุนขนาดใหญ่ก็มีทีท่าจะแยกออกจากกันมากขึ้น บทบาทและมโนภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องทำหน้าที่เชื่อมโยงรอยร้าวนี้มิให้ถึงกับแตกปริ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นความจงรักภักดีสองรูปแบบที่ไม่อาจยอมรับกันและกันได้
เราไม่ควรลืมด้วยว่า กลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯมากที่สุดในปัจจุบันก็ล้วนเป็นคนชั้นกลางทั้งสิ้น นี่เป็นสัญญาณให้เห็นความพยายามจะปรับเปลี่ยนบทบาทและมโนภาพของสถาบันฯที่ตัวสร้างขึ้นหรือไม่ใช่ หากใช่ สถาบันฯเองพร้อมจะปรับเปลี่ยนไปสู่บทบาทและมโนภาพใหม่หรือไม่ ถ้าไม่ กลุ่มคนชั้นกลางและกลุ่มทุนจะยังเป็นเครือข่ายของราชสำนักต่อไปหรือไม่
ประการที่สอง งานศึกษาที่ยืนอยู่คนละข้างระหว่างงานของคุณแฮนด์ลีย์ และงานของท่านอาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ มีความเห็นสอดคล้องกันอยู่อย่างหนึ่งก็คือ พระราชกรณียกิจทางการเมืองทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไม่ใช่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย หากใช้คำของท่านอาจารย์นครินทร์ก็คือ "กล่าวได้ว่า 'พระราชอำนาจนำ' ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะเฉพาะ ไม่ผูกติดกับสถาบันพระมหากษัตริย์"
อันที่จริงการใช้คำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่ผมใช้ตลอดมานี้ ต้องถือว่าผิดหมดเมื่อพิจารณาจากหนังสือทั้งสองเล่มนี้ คุณแฮนด์ลีย์ออกพระนามาภิไธยโดยตรงเกือบตลอดเล่มเลยด้วยซ้ำ
ข้อนี้ ใครๆ คงเห็นพ้องด้วยกับนักวิชาการทั้งสองท่าน กล่าวโดยสรุปก็คือพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันไม่ได้ถูกทำให้เป็นสถาบัน ยังคงเป็น charisma หรือบารมีส่วนพระองค์ และด้วยเหตุดังนั้นจึงสืบทอดไม่ได้
ย้อนกลับไปยังข้อคิดประการแรกว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หากสถาบันพระมหากษัตริย์พร้อมจะปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลง คำถามก็คือสถาบันจะยังมีพลังสำหรับการปรับเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด
Source : Prachatai,January 17,2008
Book Review : Coming of age in old Siam
Coming of age in old Siam
To be a monk or bandit? The story of three men who chose the former
CHRIS BAKER
Sons of the Buddha: The Early Lives of Three Southern Thai Masters Kamala Tiyavanich Silkworm Books, 277pp, 495 baht ISBN 978-974-9511-34-3
This book reconstructs the early lives of three famous monks. Acharn Buddhadasa became the most creative philosopher of Thai Buddhism in the modern era. Acharn Panya transformed the art of Buddhist preaching for a modern, urbanised world. Acharn Jumnien won fame as a meditation teacher and healer with an international following.
All came from southern Thailand. But their common regional roots and their shared lives in the robes are almost irrelevant to the first achievement of this remarkable book - describing childhood and growing up in a world that has now vanished.
Their backgrounds were very different. Buddhadasa was the son of a second-generation Chinese shopkeeper and poet manque'. Panya came from a family of middle farmers. Jumnien's father was a former monk, traditional healer and dabbler in the supernatural arts.
The common motif of their early lives is hard work. All three seem to have begun labouring almost as soon as they could stand up. Buddhadasa helped out in his father's shop and became the family cook. Panya herded buffalo. Jumnien was his father's aide and pupil in making herbal cures. All three also spent much of their time in the hunting and gathering activities that supplemented the family's food supply. They fished, trapped insects, shot birds and gathered herbs and vegetables. From this, all three became fascinated with the intricacy of nature and troubled over the conundrum of killing other living beings in order to sustain their own lives.
For all three, their families were close but not enclosing. They learned about life from their parents, but also from a penumbra of relatives and village neighbours. As the wat was the school, hospital, social centre and even provider of entertainment for the village, it played a large role in the lives of all three children. They shuttled between the family bosom and spells as temple boys, which again meant more hard work. The monks beat some basic education into them and put them to work cleaning, painting, building, carrying and cooking - learning for a tough life. Buddhadasa and Panya both grew up in the 1910s and 1920s when modern state-controlled primary schooling was just taking root. Jumnien was born a generation later, but the schooling system had progressed little in the interim. For all three, this modern schooling was not the dominating environment of their childhood as it is for children today. Rather, it was a peripheral activity that they found awkward and unnatural. The school discipline of timetables and rules did not come easily to boys raised in the village environment and accustomed to physical labour from an early age. Buddhadasa goofed off most of the time. Panya disliked the discipline so much he went back to being a temple boy. Jumnien spent more time with his teacher father.
All three grew up fast because they had to. Jumnien's mother died and his father fell apart mentally so that by the time Jumnien's age reached double figures he was the virtual head of the family. At the age of 10 he had made his name locally as a healer, astrologer, preacher and solver of local problems. He tested himself by fighting with crocodiles and sharks. He stood up to the local bandits.
Panya had to fend for himself by the age of 15 when his father was stricken with illness. He spent time in Ranong, became a tin-miner in Phuket, did a string of odd jobs and fetched up as a schoolteacher. Buddhadasa also became the family mainstay at 16, when his father died. By the time they had passed their teenage years these three men had learned a lot about life.
All were fiercely intelligent and headstrong children. The local saying of the time was that such lads had a choice between two fates - becoming a bandit or becoming a monk. Bandits and buffalo rustlers were a prominent part of the social landscape. For a young man with quick wits and high ambition, this direction was a natural career choice.
Yet, nudged by various preceptors, and tempted by learning, all three finally gravitated towards the robe. Buddhadasa became fascinated by the books that were sold in the family shop. He started to read the output of the novelists, social commentators and political ideologues from Bangkok and drifted from there into reading Buddhist texts. He ordained at the age of 20 with the aim of staying for the usual three months but found that the life suited him and never left.
Panya stumbled into Wat Khachon in Phuket while trying to sneak away from his fellow tin-miners who had taken him along on a brothel outing. He became the odd-job man for the wat, ordained at 18, became fascinated by reading dharma texts and did brilliantly in the Nak-tham examinations for the monkhood. He moved to Nakhon Si Thammarat and by the age of 20 had laid the grounding of his fame as a remarkable preacher. Jumnien also began reading texts in his local wat library while in his late teens, and became fascinated by the itinerant forest monks passing through his village.
At 20, when his father died, he decided to spend the rest of his life in the monkhood and gave away all of his meagre inheritance of family possessions. Kamala Tiyavanich's account of these three men's early lives is gleaned from their own autobiographical writings, from interviews and from some third-party biographies.
Unsurprisingly, their life stories, especially as they emerge from their own mouths and pens, is stamped by their aptitude as preachers and teachers. These are stories of life as lessons for the living. They tell of the importance of nature, compassion, learning and morality.
In her previous two books (Forest Collections and The Buddha in the Jungle), Kamala celebrated the forest monk tradition as a way to criticise the modern state-controlled Sangha for being over-regimented, antagonistic to learning and increasingly irrelevant to society.
Here she continues the same theme by celebrating the humanity and simplicity of three of Thailand's most effective religious teachers of the past century. These three monks came from a traditional local background but became famous for making the practice of Buddhist teaching more relevant for a changing world. In its own subtle way Kamala's book is a sermon which honours the three monks by replicating the simplicity, directness and humanism that is part of their own style.
As an intimate portrait of coming of age in old Siam, or as a subtle sermon about life and learning, this is a very lovely book.
Source : Bangkokpost,January 19, 2008
1/18/2008
Thai Topic 1 : Kasian- Globalization
"อะไรที่ภิวัตน์ในโลกา?"
โดย เกษียร เตชะพีระ
หลายปีหลังนี้ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์กระพือพัดท่วมหูท่วมหัว บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำพูดทำนอง.....- "ใครว่าโลกกลม" หรือ "ก็โลกมันแบนน่ะ" (Thomas L. Friedman, The World Is Flat : A Brief History of the Twenty-First Century, 2005)
- "ความตายของระยะทาง" หรือ "ลัดนิ้วมือเดียวก็ไปถึง" (Frances Cairncross, The Death of Distance : How the Communications Revolution Is Changing Our Lives, 1997)
- "แมคโดนัลด์กำลังจะกลืนโลกทั้งใบ" หรือ "ประเทศทั้งหลายในโลกนับวันจะเหมือน(อเมริ)กันเข้าไปทุกที" (George Ritzer, The McDonaldization of Society, 1993)
ฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯ
แปลกดีที่ตัวเลขสถิติต่างๆ กลับบ่งชี้ไปอีกทาง.....
ปันกาจ เขมวัต (Pankaj Ghemawat) ศาสตราจารย์ด้านบริหารธุรกิจแห่งวิทยาลัยธุรกิจ ฮาร์วาร์ด (Harvard Business School) สหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันรับเชิญไปสอนเรื่องยุทธศาสตร์ธุรกิจระดับโลก ณ สถาบันธุรกิจศึกษาชั้นสูง (IESE Business School) แห่งมหาวิทยาลัยนาวาร์รา ประเทศสเปน - ที่ถูกจัดอันดับเป็นวิทยาลัยธุรกิจที่หนึ่งของโลกประจำปี ค.ศ.2005-2006 โดยนิตยสาร The Economist -
ตรวจดูข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ แล้วถึงกับฟันธงว่าทัศนคติดังกล่าวข้างต้นต้องนับเป็น "globaloney" หรือ "โลกามุสาวาท" (คำแปลของ ดร.ไสว บุญมา) แท้ๆ
เขาชี้ว่า : - "กิจกรรมเศรษฐกิจประเภทต่างๆ ที่ดำเนินไปได้ทั้งภายในหรือข้ามพรมแดนแห่งชาตินั้นเอาเข้าจริงส่วนใหญ่ยังคงรวมศูนย์อยู่ภายในประเทศ...."ในจำนวนเงินทุนทั้งหมดที่ลงทุนกันทั่วโลก, ที่เป็นการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศโดยบริษัทต่างๆ ภายนอกประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองคิดเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่รึ?
"ความจริงแล้วอัตราส่วนนี้โดยทั่วไปต่ำกว่า 10% และถึงแม้กระแสคลื่นการควบรวมกิจการอาจทำให้อัตราส่วนดังกล่าวสูงขึ้นบ้าง แต่มันก็ไม่เคยถึง 20% เลย"
(Pankaj Ghemawat, "Globalization Myth versus Reality", 5 September 2007http://discussionleader.hbsp.com/ghemawat/)
กิจกรรมเศรษฐกิจประเภทต่างๆ ที่ว่าได้แก่ : -
1) การใช้โทรศัพท์ติดต่อกันข้ามประเทศ : เทียบกับยอดการใช้โทรศัพท์ทั้งหมด
2) ผู้อพยพที่เข้ามาอยู่ยาวนาน : เทียบกับยอดประชากรในประเทศ
3) นักศึกษาที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยเมืองนอก : เทียบกับยอดนักศึกษาทั้งหมด
4) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ : เทียบกับยอดการลงทุนโดยตรงทั้งหมด
5) การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ : เทียบกับยอดการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมด
6) มูลค่าการค้า : เทียบกับยอดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ – GDP
ปรากฏผลคิดเป็นร้อยละดังแผนภูมิ : -
แผนภูมิแสดงอัตราส่วนกิจกรรมเศรษฐกิจข้ามชาติเทียบกับยอดกิจกรรมทั้งหมดของนานาประเทศทั่วโลก (= 100%)
- แท่งสีทึบแสดงอัตราส่วนจริง
- แท่งสีจางแสดงอัตราส่วนคาดคะเนจากการสำรวจความเห็น
จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าในความเป็นจริง (ดูแท่งสีทึบ) กิจกรรมเศรษฐกิจข้ามชาติคิดเป็นอัตราส่วนเฉลี่ยราว 10% ของยอดกิจกรรมทั้งหมดของประเทศต่างๆ ในโลกเท่านั้น แทนที่จะเหยียบใกล้ 100% หากเราหูเบาลอยละเลื่อนไปตามโลกามุสาวาทของบรรดา guru (กูรู้) โลกาภิวัตน์ทั้งหลาย
ทว่าในทางกลับกัน ตามการคาดคะเนจากการสำรวจความเห็น (ดูแท่งสีจาง) คน 400 คน เกี่ยวกับระดับโลกาภิวัตน์ของโลกโดยเว็บไซต์วารสาร Harvard Business Review (HRB.org) นั้น พวกเขามีแนวโน้มชัดเจนเป็นระบบที่จะประเมินระดับโลกาภิวัตน์ สูงเกินจริงไปไกลโขทีเดียว กล่าวคือ ประเมินกิจกรรมเศรษฐกิจข้ามชาติคิดเป็นอัตราส่วนเฉลี่ยราว 30% ของยอดกิจกรรมทั้งหมดฯ
ที่ร้ายกว่านั้น ในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถาม ยิ่งเป็นผู้แก่ประสบการณ์ทางธุรกิจเกิน 10 ปีขึ้นไป ก็จะยิ่งคาดคะเนเรื่องนี้ผิดเข้าไปใหญ่ เมื่อเทียบกับผู้ด้อยประสบการณ์กว่า!ทั้งหมดนี้นำไปสู่ข้อสรุปน่าตกใจของศาสตราจารย์เขมวัตว่า: -
"...บรรดาผู้จัดการธุรกิจชอบทึกทักว่าโลกมันโลกาภิวัตน์กว่าที่เป็นจริง..."
อย่างไรก็ตาม มีมิติหนึ่งเกณฑ์หนึ่งของโลกาภิวัตน์ที่ศาสตราจารย์เขมวัตดูจะละเลยไป
นั่นคือโลกาภิวัตน์ทางการเงินหรือการเคลื่อนย้ายเงินตราข้ามพรมแดน - อันเป็นสินค้าที่ถูกกำกับควบคุมน้อยที่สุดในโลกปัจจุบัน
ดังปรากฏข้อมูลใน รายงานสำรวจกิจกรรมตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและตราสารอนุพันธ์ของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทั่วโลกในรอบ 3 ปีในปี ค.ศ.2007 (Triennial Central Bank Survey of Foreign Exchange and Derivatives Market Activity in 2007) จัดทำโดย ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือ Bank for International Settlements อันเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางทั้งหลายทั่วโลกที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ว่า : -
จากเดือนเมษายน ค.ศ.2004-เดือนเมษายน ค.ศ.2007 นั้น เงินหมุนเวียนรายวันในบรรดาตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบเดิมทั้งหลายเพิ่มขึ้นถึง 71% จนทำยอดใหม่ที่...
3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ/วัน!!!
นี่เป็นยอดที่อภิมหาโลกาภิวัตน์ทีเดียว โดยเฉพาะถ้าลองนำตัวเลขนี้ไปเทียบกับยอดมูลค่าการค้าขายสินค้าและบริการเชิงพาณิชย์รายปีในปี ค.ศ.2006 ซึ่งอยู่ที่
14.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี
(แบ่งเป็นการค้าสินค้าภายในภูมิภาคเดียวกัน 6.5 กว่าล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ; การค้าสินค้าระหว่างภูมิภาค 5.2 กว่าล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ; และการส่งออกบริการเชิงพาณิชย์ 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมวลจาก WTO"s International Trade Statistics 2007)
นั่นแปลว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลกแค่ 5 วัน มีมูลค่าสูงกว่าการค้าขายสินค้าและบริการทั่วโลกตลอดทั้งปีด้วยซ้ำไป!!!
แล้วเงินมหึมามหาศาลมโหฬารเหล่านี้ไหลเวียนจากไหนไปไหน? ทิศทางของโลกาภิวัตน์ทางการเงินด้านหลักแล้วทะลักเทจากที่ใดไปสู่ที่ใดในโลก?
คำตอบส่วนหนึ่งอยู่นี่ครับ.....(ดูกราฟิค)
ตารางแสดงยอดการไหลเวียนสุทธิของเงินตราสำหรับประเทศกำลังพัฒนาจาก ค.ศ.1997-2007 (หน่วยพันล้านดอลลาร์)
- ตัวเลขค่าเป็นลบแสดงว่าเมื่อหักกลบลบเงินไหลเข้ากับเงินไหลออกแล้ว ปรากฏว่ายอดเงินตราสุทธิไหลออกจากประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
- เส้น หมายถึงเงินตราสุทธิที่ไหลออกจากประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนา
- เส้น หมายถึงเงินตราสุทธิที่ไหลออกจากประเทศที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในระยะผ่าน
(อ้างจาก United Nations, Department of Economic and Social Affairs, World Economic Situation and Prospects 2008, New York : United Nations, 2008)
คงพอจะเห็นแล้วนะครับว่าอะไรกันแน่ที่ภิวัตน์ในโลกา.....
หน้า 6
Source : Matichon
COMMENT ( ลับสมอง ) : ให้แง่คิดน่าสนใจดีครับ .. หมายความว่ายอดเงินลงทุนส่วนใหญ่ มีที่มาจากทุนภายในประเทศนั้นๆเอง แต่ด้วย “มนต์”ของโลกาภิวัตน์ (กำไร)สุดท้ายก็ไหลออกไปนอกประเทศ..เสียยังงั้นแหละ ? ?!! เออ..แล้วจะอธิบาย กรณีเทสโก้โลตัสอย่างไร?
The Sufficiency Economy : 'Por Piang' way of life
'Por piang' is all about handling one's greed
SANITSUDA EKACHAI
Does His Majesty the King's message on sufficiency have any merit? Not at all, agreed a group of academics, both Thai and Western, who spoke on the sufficiency economy panel during the recent international Thai Studies conference last week.
The King's take on sufficiency economy is a nationalist, anti-globalisation response to the 1997 economic crisis, a futile economic theory because Thailand is already too deep in the world economy, a propaganda tool for the coup-makers to whitewash themselves, and a poor consolation for the poor.
In short, it is useless.
And the Thais' total lack of criticism of this royal idea only shows their gullibility and the power of the state's brain-washing machine.
Indeed, we need to hear more of these criticisms. Not because they are spot on. But because Thai society desperately needs to be open to different views, particularly disconcerting ones, in order to develop political tolerance and maturity. Otherwise, our democratic route will remain a long-winding one.
The critics are right in many respects. The por piang message has been reduced to an empty mantra when state destruction of natural resources goes on unabated. But would it be going too far to equate moral advice with an economic model? Is it too easy to reduce the locals' positive reaction to gullibility?
Pat Apaimool, a farmer in tambon Mae Ta of Chiang Mai, has some answers. Twenty years ago, he was the first person in Mae Ta to stop mono cash crop farming and start mixed, organic farming to ensure food security, heal the hardened soil and to regain good health first and foremost, before selling any surplus. Now, Mae Ta has followed his path, which has also paved the way for grassroots democracy, as the young generation began entering local politics to protect community environment and support ecological farming. Let's hear what Pat has to say:
"People call it por piang now, but back then we called it por yoo por kin [having enough to live and eat]. It is the same thing. It's of the same spirit of moderation.
"The whole thing is about knowing ourselves, not exceeding our capacity and not letting greed take over. It's not a theory. It's a worldview. A way of life. A moral choice rooted in Buddhist teaching.
"For me, the message on moderation is aimed at awakening society's moral conscience. It's for everybody, especially the rich. Society cannot be at peace if it benefits only the rich few.
"At first I was very glad to hear the royal message, thinking that it would help the rethink on chemical farming and consumerism to gain speed.
"But the officials and the business people - despite their yellow shirts - just keep on mouthing por piang without making it a reality because it is against their self interests.
"Despite the odds, many communities have opted for moderation. So, instead of saying that por piang doesn't work, it is more useful to discuss what makes it possible and what does not. And what it takes to help make it more easily possible.
"For me, por piang is possible when we rethink our old ways and cut down our greed, when Nature is in good health and when we are willing to share what we have with others. If we believe this is the kind of society we want, we won't dismiss it but we will identify the obstacles and do whatever we can to make it happen. When I said no to the old ways by giving up chemical farming and living a more simple life, people mocked me. But my decision paid off. Now, I'm not rich but I have my freedom and a life of dignity back.
"No matter what you call it, por piang or whatever, we need to to keep greed in check and not exceed our capacity. Don't forget, the world's days are numbered if we don't change our ways.
"For me, I'll continue on this path, simply because it works."
Sanitsuda Ekachai is Assistant Editor (Outlook), Bangkok Post.
Email: sanitsudae@bangkokpost.co.th
Source : Bangkokpost,Thursday January 17, 2008
Broadcasting and Democracy
Whose television and for what?
Television in Thailand has acted largely as a tool to produce a culture that will sustain a reigning political order
By BOONRAK BOONYAKETMALA
On Tuesday, Thailand Independent Television (TITV) was abruptly seized by the Public Relations Department of the Prime Minister's Office, so as to complete the transfer of its control to the so-called Thai Public Broadcasting Service (TPBS), a creation of the fast-tracked Public Television Act sponsored by the government installed by the military coup.
Whilst this was a tear-jerking event for some 840 TITV staffers, the newfound annual budget of 1,700 million baht earmarked by the government for TPBS could be a gold mine for any organisation empowered to define its own identity and operations.
But a really good question for research is whether or not the appalling quality of television in this country has much to do with the availability of free-floating money. Given all the shortcomings of Thai television production culture and system, not to mention the attached political strings of fundraisers, the advent of a worthwhile, defendable public service in this domain in an age of deep domestic conflict and global turbulence is a real challenge indeed.
That TITV itself was put in place only months earlier is a testimony of the obvious policy confusion of the same regime. The fact that TITV was created from iTV, owned in the first half of the 2000s by Shin Corp and then Temasek Group, respectively, is quite telling of the impact of political changes on the making and unmaking of this TV network.
Furthermore, if one was to be reminded that this very iTV emerged originally from the people's struggle against military dictatorship in the early 1990s, the correlation between politics and television in Thailand becomes even more pronounced.
With TPBS in place, the musical chairs of television politicking has finally completed its vicious circle.
First, civil society took control over the direction of iTV by defining its structure and mandate, characterised by content regulation and diversified ownership.
Later, big capital, initially national and later transnational, took turns running iTV. Subsequently, the bureaucratic polity seized the day by transforming iTV into TITV and then TPBS, each with its own political implications.
The case of iTV is but a fraction of the politics of Thailand's television industry, whose components mirror the multi-layered contradictions of the political system that breeds it. Throughout this country's modern history, the development of the Thai TV industry has been synchronised with the whims of dominant political forces of the day. During the last five decades, the powers-that-be of any period struggled to own and/or operate TV networks in Thailand. This is hardly surprising since in modern times television has turned out to be the most powerful means of mass communication to position ideas, facts, products and services in the market. On top of the big money to be spun, it is a motor for generating influence, power and status, all of which are rare social commodities not easily accessible.
Beginning in the 1950s when military rule was the norm, the Royal Thai Army launched Channel 5. A little later, Channel 3 and 7 came into being under the control of old-time private capital with intricate connections to the bureaucracy. Simultaneously, while Channel 9 and 11 were both started as mechanisms controlled by the Prime Minister's Office, Channel 9 was turned into a company listed on the stock market in the 2000s, a process a la Thaksinocracy.
Like iTV, any adjustment in the structure and mandate of such TV networks has been a response to pressures of dominant power cliques. To maintain the status quo, there is always some room for other emerging groups. For example, peripheral television networks like cable and satellite channels as diverse as TrueVisions, Nation, ASTV and others are in existence.
Owing to such vested interests, it is an established norm that the TV industry of Thailand has not really been part and parcel of a free media system. Whenever TV dares to be free, it is always driven by the individuals who are exceptions rather than the rule. Overall, television in Thailand has acted largely as a tool to produce a culture that will sustain a reigning political order. For this reason, television does not raise questions that will challenge the political forces that watch over it.
The role of television as an engine of democracy is therefore curtailed. For instance, though the plight of large peripheral groups such as peasants and manual labourers does appear in the news from time to time, their stories are almost never taken seriously in a sustained manner with a view to truly understand their problems. If Thailand's TV is to better serve the cause of democracy, it could begin by breaking new ground in this class-bounded territory.
As both the producers and consumers of TV software have learned to live with such limited standards, the level of professionalism in television has never been high in the area of news.
A case in point was when the tsunami hit southern Thailand in December 2004. None of the television networks in Thailand was able to cover the news in any timely manner. And when some footage did finally appear on the screens, they were literally taken from global networks such as CNN and BBC. Once the news crews of local TV channels made their show, much of their footage and narrative focused on the tragic dimensions to such an extent as to set examples of textbook cases for bad taste in journalism.
On top of such weaknesses in breaking news, routine, day-to-day TV journalism is not any better. Ironically, with its much greater financial resources, much of the news on TV is more often than not exactly the same as those you can read in the printed newspapers. It is arguable that the latter form of journalism has usually set the agenda for TV news. Actually, most TV networks show the daily newspapers as the core of their news programmes, without any apparent sense of guilt. Moreover, ''edutainment'' is producing the worse impact on news programmes on Thai TV. For instance, many networks have apparently commissioned people who enjoy posing as celebrities to ''read'' the news, a trend which has triggered a vulgarisation of the news profession to the point of no return.
Aside from plain common sense, news analysis programmes that offer bright, in-depth views about the issues in question have been very rare. Worse, much of the ''hard talk'' programmes on TV have been conducted in the main by tongue-in-cheek moderators with little understanding of the chosen topics of discussion. Despite its great potential as a means to disseminate complicated ideas audio-visually, TV has not been sufficiently utilised to stimulate the exchange of serious thought.
On top of such limitations, TV in Thailand has not given adequate weight to foreign news, except those having to do with sports. In a world as inter-dependent as ours, a solid presentation and analysis of select foreign news, especially those with strategic relevance to Thai life, is a key area which must command more attention from responsible TV policy-makers. Ideally, the foreign desk of Thai TV networks must be able to produce its own foreign news, rather than simply copying from those produced by foreign newsmen, as has been the main practice. Nevertheless, taking expensive trips abroad just to cover some news in person but with little background knowledge of the issue at hand is definitely not the way forward.
A textbook example in this context is when a Thai TV reporter tried to do a stint on Iraq but openly admitted that he could not pronounce names in the news properly ''because they are difficult to remember''.
Another aspect of TV news that requires immediate attention is the steady decrease in intra-media competition, as news personnel of many TV networks are actually drawn from the same pool, probably a clue that these people prefer being treated as celebrities rather than as newsmen.
Alienating the well-educated members of the audience as it does, much of what is on TV in Thailand is designed to please the masses. Note that there are probably over 15 million active TV sets for our 63 million people, well over half of which are based in the rural areas. After all, the rule of thumb is the more audiences watch a given programme, the more advertising revenues it can attract. Thailand's TV thus ends up highlighting locally-made melodramas about women fighting for rich and handsome men, game shows focusing on financial rewards, foreign tour programmes that are designed to tell more about their moderators than the areas visited, talk shows involving silly details in the lives of the rich and famous, comedies about poor folk trying to adjust awkwardly to the modern lifestyle, ''hard talk'' that is meant to add value to the status to the talkers without having talked about anything hard, and the like.
Coupled with the so-called ''news,'' such pop culture on TV has cleverly served to seduce the masses into a political system in which they are meant to be co-opted as ritualistic partners. But, alas, the subversive impact of TV's messages on the masses will keep producing a range of unforeseen, boomerang effects on the political system that manipulates it. An intense pump-up of consumerism by TV has already destroyed the fabric of rural societies, whose members have steadily invaded Bangkok and other urban centres looking for the televised lifestyles. As proven in recent elections, these people will vote for political candidates who claim to cater to their needs, basic and otherwise. Ultimately, albeit unintentionally, television will generate democracy from below.
The writer teaches at Thammasat University in Bangkok. Comments are welcome at: : responses1234@yahoo.com.
Source : Bangkokpost,Friday January 18, 2008
Banned a social critic's book
Sulak Sivaraksa to sue police commander and Gen Surayud for banning his book
Source : Prachatai
16 January 2008
News
Well-known social critic Sulak Sivaraksa, author of the banned book ‘Almost a Century of Thorn-filled Thai Democracy', will lodge a court case against the Special Branch Police Commander and the Interior Minister at the Central Administrative Court today (Jan 16).
Pol Maj Gen Sombat Suphajiva and Gen Surayud Chulanont in his capacity as Interior Minister will be the first and second defendants respectively.
Sulak wants the court to lift the Special Branch Commander's order prohibiting sales and distribution, and confiscating copies of his book that was published in April 2007.
On Oct 1, 2007, Pol Maj Gen Sombat Suphajiva acting as printing authority issued Order 5/2007 banning Sulak's book that criticizes Thailand's democracy, alleging that the material ‘may cause unrest and degrade good morals' in Thai society. Copies of the book have been confiscated by the police since.
Sulak appealed to Interior Minister Gen Surayud Chulanont on Oct 8, 2007, and never received a response. So he decided to ask the Administrative Court to lift the ban order and have the defendants pay him damages of 1,094,000 baht with an annual interest rate of 7.5% starting from the date of prosecution.
Sulak said that the Special Branch Police had illegitimately and unlawfully issued the order to ban and confiscate his book without presenting any reasons and facts to prove what part in the book ‘may cause unrest and degrade public good morals', and had failed to grant him a chance to defend his book.
The authority of the Special Branch under Article 9 of the 1941 Printing Act to ban and seize books is also outdated, infringing on the people's rights and freedoms, and goes against Article 45 of the 2007 Constitution. He also asks the Central Administrative Court to forward the case to the Constitution Court to rule on this point.
1/17/2008
Banned royal book
By Ed Cropley Thu Jan 10, 11:49 PM ET
BANGKOK (Reuters) - Thailand's banning of a rare "warts and all" biography of revered King Bhumibol Adulyadej only stokes interest in the book and risks an eventual explosion of pent-up political tension, an academic said.
"Banning books is usually something we associate with fascist and repressive regimes," Australian anthropologist Annette Hamilton told a seminar on "The King Never Smiles" at an international Thai studies conference in Bangkok on Thursday.
"When silence is enforced for a long time, noise -- when it comes -- is deafening."
The book, by U.S. journalist Paul Handley, portrays King Bhumibol as an austere and deeply political monarch whose overarching desire for stability and unity during 61 years on the throne has stifled Thailand's democratic development.
Many of the southeast Asian nation's 63 million people regard the king as semi-divine and credit him with steering Thailand through huge political and social turbulence, including more than a dozen military coups.
However, critics say this perception is propped up by draconian lese majeste laws, which make any insult or threat to the monarchy punishable by up to 15 years in jail.
Even though the King himself made it clear in 2005 that he should not be above criticism, the government banned the book in January 2006 under its 1941 Printing Act, arguing it "could disrupt public order and the good morals of society."
This was clearly not the real reason, Hamilton said.
"The main issue is that it challenges the agreement to silence, or the agreement not to disagree, which is a main strategy in Thailand for maintaining harmony. But we've seen this method does not guarantee peacefulness," Hamilton said.
"Instead, it results in a situation where fears, hopes, dreams and interpretations are bottled up for years and decades, circulate through rumor and gossip and may come out in terrible, violent confrontations."
WHAT'S ALL THE FUSS ABOUT?
The book also contains lots of rumor and gossip about the royal family, in particular heir apparent Crown Prince Maha Vajiralongkorn, who does not enjoy the almost unquestioning respect accorded to his 80-year-old father.
Handley, declared persona non grata in Thailand, did not attend the conference, one of the few times the monarchy has ever been debated critically in public inside Thailand.
But his paper on the role of the King's advisory council was read out on his behalf.
Australian scholar Craig Reynolds said much of the underground hype about the book might be overblown as studies in Thai have already pointed to Bhumibol's overtly political reign, backing various democratic and military regimes.
Thai journals have also questioned how the monarchy has become such an important totem for the generals who staged the September 2006 coup against Prime Minister Thaksin Shinawatra.
"His political neutrality has been exposed time and again for what it is -- namely, the mere appearance of political neutrality. In reality the King is not neutral," Reynolds said.
Instead, he said, much of the offence seemed to stem from outrage at an outsider, in particular a journalist, trying to lift the lid on the central pillar of Thai society.
"Who is he to comment on the sacred institution which has held the country together during crisis after crisis?," Reynolds said of the prevailing view of Thai critics of the book.
(Editing by Darren Schuettler and Alex Richardson)
Source : http://news.yahoo.com
an international academic conference
January 10, 2008 - 7:41pm
By DENIS D. GRAY
Associated Press Writer
BANGKOK, Thailand (AP) - An American journalist whose critical book on Thailand's king is banned took the limelight at an international academic conference Thursday even though the author didn't appear in person.
One participant read out a paper written by journalist Paul Handley and others debated the accuracy and relevance of his "The King Never Smiles," while taking swipes at the tough stance of censors when dealing with perhaps the most sensitive issue in Thailand _ the role of King Bhumibol Adulyadej.
In tracing the life of the 80-year-old monarch, Handley alleges that Bhumibol has proved a major stumbling block to the progress of democracy in Thailand as he consolidated royal power over a long reign.
This view is shared by some Thai academics, but the king remains greatly revered by the majority of the population, in part because of a lifetime of effort to alleviate the plight of the have-nots.
"This book raises in a dramatic way some of the most important matters concerning the past, the present and the future of the kingdom," said Annette Hamilton, an anthropologist who has worked in Thailand for more than two decades.
While questioning some of his sources, noting inaccuracies and even questioning his conclusions, both Thai and foreign participants at the 10th International Conference on Thai Studies credit Handley with stimulating debate on the issue within the country.
"Banning books is something we associate with fascist regimes," said Hamilton, but added that suppression of information has been practiced in recent years in a number of democracies, including her native Australia.
"Handley's book presents such a profound challenge to a prevailing Thai world-view that we can see that many people would respond with fear and negativity," she said.
The conference itself has been controversial, since open critical discussion of the monarchy is rare in Thailand, even in academic circles. There are three panels covering the subject.
"Coverage of the monarchy (in Thailand) is a mixture of genuine praise, mixed with excessive flattery and laced with a heavy dose of propaganda," said Pravit Rojanapruk, a reporter at the English-language daily The Nation. "It hides and blurs a complex reality with this one-sided coverage."
Handley, who now lives in Washington, published his book in 2006. He had earlier worked in Thailand with the Hong Kong-based news magazine Far Eastern Economic Review.
The import of Handley's book into Thailand was banned by police order even before its publication, but bootleg copies _ both the legitimate Yale University Press version, and photocopies, as well as partial translations _ have circulated widely though discreetly.
Handley is not known to be officially banned from entering Thailand, but it is widely assumed he would be liable to arrest under the country's broad and tough lese majeste law making it a crime to insult the monarchy.
"I don't like it. The nation doesn't like it," Prem Tinsulanonda, the former prime minister who heads the Privy Council body of advisers, said in a 2006 interview with Far Eastern Economic Review. "It's a hearsay book and is not based on the fact. We are worried (about) the foreigners who read it. My suggestion is please ignore that book. It's useless."
___
Associated Press Writer Ambika Ahuja contributed to this report.
(Copyright 2008 The Associated Press. All rights reserved. This material may not be published, broadcast, rewritten or redistributed.)
By DENIS D. GRAY Associated Press Writer